การศึกษาเกี่ยวกับอสุภและธรรมะ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 246
หน้าที่ 246 / 324

สรุปเนื้อหา

กล่าวถึงความเข้าใจผิดของผู้คนที่ยึดติดในความงามของร่างกาย โดยวีบทที่กล่าวถึงว่าคนเฉลียวฉลาดควรเห็นกายว่ามีสภาพเน่าเหม็น แม้ในสภาวะดิบ ในขณะที่คนโง่กลับชื่นชมและหลงระเริงอยู่กับร่างกาย ผู้นั้นจึงไม่พ้นจากทุกข์ ที่สำคัญคือ พุทธวจนเน้นให้พิจารณาในโครงสร้างและคุณลักษณะของร่างกายเพื่อให้สามารถปล่อยวางจากความหลงได้ เพื่อไม่ให้ก่อให้เกิดการทำบาปในชีวิต

หัวข้อประเด็น

- วิสุทธิมรรค
- อสุภ
- ความเข้าใจในร่างกาย
- การปล่อยวางจากความหลง
- พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ม.ศ ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 244 ผู้รู้ไม่พึงถือแต่โกฏฐาสที่ตก ( ไปนอกกาย ) แล้วเท่านั้นว่า ว่าเป็นอสุภ เหมือนอย่างสุนัข จิ้งจอกเห็นดอกทองกวาวบานในป่า สำคัญว่า ตัวได้ต้นเนื้อเข้าแล้วรีบไป ตระกรามงับเอา ดอกที่หล่นๆ อยู่รู้ว่านี่ไม่ใช่เนื้อ (แต่) ก็ ยังยึดอยู่ว่า ที่ยังอยู่บนต้นโน่นเป็นเนื้อ ฉะนั้น แล้วถือโกฏฐาสนั้นแม้ที่ยังอยู่ในสรีระว่า เป็น อสุภเช่นกันเถิด เพราะคนโง่ทั้งหลาย ผู้ถือ ร่างกายนี้โดยว่าเป็นของงามแล้วลุ่มหลงอยู่ ในร่างกายนั้น มัวทำบาปเสีย ย่อมไม่พ้นจาก ทุกข์ได้ เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญาพึงเห็น สภาพแห่งกายเน่า อันยังเป็นอยู่หรือตายแล้ว ก็ตาม ว่าเป็นของเว้นเสียแล้วจากความงามเถิด จริงอยู่ พระโบราณจารย์ก็ได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า " กาย ( นี้) ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น เปรียบ ประดุจซากศพ ( หรือมิฉะนั้น ) เปรียบเหมือน หลุมคูถ เป็นกายที่ท่านผู้มี ( ปัญญา) จักษุ ทั้งหลายติเตียนกัน (แต่ ) คนโง่ชมชอบนัก กายใดเล่ามีหนังสดปิดหุ้มไว้ ( แต่ว่า ) มีแผล ใหญ่ถึง 8 ช่อง ของสกปรกมีกลิ่นเน่าไหลซึม ออกรอบไป ถ้าข้างในของกายนี้พึง ( กลับ)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More