ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที 51
พิศวงติดใจในส่วนดี ( ของรูปนั้น ) แม้เล็กน้อย ไม่ถือส่วนเสียของมัน
แม้ ( มองเห็น ) โต้งๆเมื่อจะจากไปเล่าก็ไม่ใคร่จะพ้นไปได้ จาก
ทั้งที่มีความอาลัย
คนโทสจริต เห็นรูปไม่รื่นรมย์ใจแม้สักหน่อย ก็ดูอยู่นาน
ไม่ได้ ทำท่าราวกะเหน็ดเหนื่อย เดือดใจในส่วนเสีย ( ของรูปนั้น)
แม้นิดเดียว ไม่ถือส่วนดี ( ของมัน ) แม้ ( มองเห็น ) เด่นๆ เมื่อ
จะจากไปเล่า ก็ใคร่จะพ้นไปเสียทีเดียว จากไปไม่มีอาลัย
คนโมหจริต เห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งเข้า ก็สุดแต่คนอื่น ได้ยิน
เขาติ ก็ติ (บ้าง) ได้ยินเขาชม ก็ชม ( บ้าง )แต่ส่วนตนเป็นคน
เฉยๆ โดยอญาณุเบกขา ( อุเบกขาโง่) นัยนี้พึงทราบแม้ในอาการ
ทั้งหลายมีฟังเสียงเป็นต้น ส่วนบุคคล ๓ ที่เหลือมีคนสัทธาจริตเป็นต้น
พึงทราบตามแนวแห่งบุคคล ๓ ที่กล่าวมาแล้วนั่นเถิด เพราะมีส่วนเสมอกัน
บัณฑิตพึงบอกจริยาโดยอาการมีการดูเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้
[ลักษณะโดยธรรมประวัติ
ข้อว่า " และโดยธรรมประวัตินั่นแล " นั้น มีนัยดังนี้ ก็ธรรม
ทั้งหลายคือ มายา สาเถยยะ มานะ ปาปิจฉตา (ความปรารถนา
ลามก ) มหิจฺฉตา ( ความมักมาก ) อสนฺตุฏฐิตา (ความไม่สันโดษ )
สิงคะ ( ความแง่งอน ) จาปลุยะ (ความโอ่อ่า) อย่างนี้เป็นต้น ย่อม
เป็นไปมากแก่คนราคจริต
* แปลโดยนัยแห่งมหาฎีกาว่า อตฺตโน สรีรสฺส จีวราทิปริกขารสุส จ มณฑนวเสน
ปวตฺติ โลลุปป์ จาปลุย ความโลภอันแสดงออกทางการตกแต่งร่างกายและบริขารของตน
ชื่อ จาปัลยะ ดังนี้ จึงถือเอาความว่า โอ่อ่า