วิสุทธิมรรค: ศีลและฌานในทางพุทธศาสนา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 312
หน้าที่ 312 / 324

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหาเกี่ยวกับวิสุทธิมรรค ภาค ๑ ตอน ๒ อธิบายความสำคัญของศีลและฌานที่เกิดจากการระลึกถึงคุณของศีล โดยจิตที่มีศีลไม่ขาดจะสามารถหลุดพ้นจากราคะ โทสะ และโมหะ และยังทำให้เกิดฌานที่เป็นอุปจารซึ่งเชื่อมโยงกับอานิสงส์ของการมีสีลานุสติ การเป็นผู้มีสีลานุสติทำให้เกิดความเคารพในสิกขา มีความประพฤติเหมาะสม ปราศจากภัย และเห็นภัยในโทษต่างๆ ได้อย่างชัดเจน ซึ่งทำให้บุคคลนั้นมีความเจริญในชีวิตและมีสุขในเบื้องหน้า

หัวข้อประเด็น

-ศีลและฌาน
-ศีลานุสติ
-อานิสงส์ในพุทธศาสนา
-ความสำคัญของจิตที่ปราศจากนิวรณ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 310 เป็นศีลไม่ขาดเป็นต้นดังนี้อยู่ ในสมัยนั้น จิต (ของเธอ ) ย่อมไม่เป็น จิตที่ราคะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โทสะกลุ้มรุม ไม่เป็นจิตที่โมหะกลุ้มรุม เลยทีเดียว ในสมัยนั้นจิตของเธอย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงแนวปรารภ ศีลแล องค์ฌานทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นในขณะเดียวกันแก่เธอผู้ข่มนิวรณ์ ได้แล้ว โดยนัยก่อน ( ที่กล่าวในพุทธานุสสติ ) นั่นแล แต่เพราะความ ที่สีลคุณทั้งหลายเป็นอารมณ์ลึกซึ้ง หรือเพราะความที่จิตน้อมไปใน การระลึกถึงคุณนานาประการ ฌานนี้จึงเป็นฌานที่ไม่ถึงอัปปนา ถึง เพียงอุปจารเท่านั้น (และ) ฌานนี้นั้นก็ถึงซึ่งความนับ (ชื่อ) สีลา นุสสติ นั่นเอง เพราะเป็นฌานที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการระลึกถึงศีลคุณ [อานิสงส์เจริญสีลานุสตติ ก็แลภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งสีลานุสสตินี้ ย่อมเป็นผู้มีความ เคารพในสิกขา มีความประพฤติเหมาะสมไม่ประมาทในการปฏิ สันถาร ปราศจากภัย มีอัตตานุวาทภัย (ภัยคือตนติตนเองได้) เป็นต้น มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายมาตรว่าเล็กน้อย ได้ความไพบูล แห่งคุณมีศรัทธาเป็นอาทิ เป็นผู้มากไปด้วยปีติและปราโมช อนึ่ง เมื่อยังไม่บรรลุคุณอันยิ่งขึ้นไป เธอย่อมเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปใน เบื้องหน้า * หมายเอาภัย ๔ คือ อัตตานุวาทภัย (ตนติตนเอง ) ปรานุวาทภัย (คนอื่นติ) ทัณฑภัย ( ถูกจับลงอาชญา ) ทุคคติ (ตายไปแล้วไปทุคติ)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More