ปฐมฌานและองค์ประกอบหลัก วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 147
หน้าที่ 147 / 324

สรุปเนื้อหา

ในฉบับนี้กล่าวถึงความสำคัญขององค์ ๕ ที่ประกอบขึ้นในปฐมฌาน ได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข และจิตเตกัคคตา โดยชี้ให้เห็นว่าทุกองค์นี้มีบทบาทสำคัญในการเข้าถึงฌาน พร้อมทั้งอธิบายเกี่ยวกับการไม่ควรถือว่ามีฌานอื่นนอกจากปฐมฌานเนื่องจากองค์ประกอบที่ชัดเจน การฝึกปฏิบัติจะนำไปสู่การสัมผัสถึงปีติและสุขโดยการหลีกห่างจากปฏิปักขธรรม ความหมายที่แท้จริงของการปฏิบัติทางจิตจึงอยู่ที่การเข้าใจและประยุกต์ใช้องค์เหล่านี้อย่างถูกต้อง ท้ายที่สุด การพิจารณาองค์ประกอบเหล่านี้ทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งในกระบวนการภาวนา ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถพัฒนาตนในแนวทางที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-ปฐมฌาน
-องค์ประกอบหลัก
-ความสำคัญของฌาน
-การปฏิบัติทางจิต
-วิสุทธิมรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 145 ซึ่งจิตนั้นพร้อมทั้งสัมปยุตธรรมที่เหลือ โดยเสมอโดยชอบ ใน เอกัตตารมณ์ เพราะเหตุนั้น ความที่ปฐมฌานประกอบองค์ ๕ บัณฑิตพึงทราบโดยเป็นความเกิดขึ้นแห่งองค์ ๕ นี้ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข จิตเตกัคคตา ด้วยเมื่อองค์ ๕ นี้เกิดขึ้นแล้ว ฌานจึงได้ชื่อว่า เกิดขึ้นแล้ว ด้วยเหตุนั้น องค์ ๕ นั้นท่านจึงเรียกว่า " องค์ประกอบ " แห่งปฐมฌานนั้น เพราะฉะนั้นไม่ควรถือว่ายังมีฌานอื่นที่ประกอบ ด้วยองค์ ๕ นั้นอยู่อีก เหมือนเสนา ท่านกล่าวว่าประกอบด้วยองค์ ๔ ดนตรี กล่าวว่าประกอบด้วยองค์ ๕ มรรค กล่าวว่าประกอบด้วยองค์ ๘ ก็ด้วยบังคับแห่งองค์เท่านั้นโดยแท้ ฉันใด แม้ปฐมฌานนี้ก็พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่ามีองค์ ๕ หรือว่าประกอบด้วยองค์ ๕ ก็ตาม ก็ด้วยบังคับ แห่งองค์เท่านั้นเหมือนกัน ฉะนั้น องค์ ๕ นี่ย่อมมีแม้ในขณะแห่ง อุปจารโดยแท้ แต่ว่าในอุปจาร องค์ ๕ นั้นมีกำลังยิ่งกว่าปกติ ( กามา วจร ) จิต ส่วนในฌานนี้ องค์เหล่านั้นได้ลักษณะรูปาวจร ย่อม มีกำลังยิ่งกว่าอุปจาร (จิต) เสียอีก แท้จริง ในองค์เหล่านั้น วิตก ปักจิตลงไปในอารมณ์ด้วยอาการอันชัดเจนยิ่งเกิดขึ้น วิจารก็ตามพื้น อารมณ์อย่างเต็มที่เกิดขึ้น ปีติและสุขก็แผ่ไปทั่วสรรพางค์กายเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า " องค์ อวัยวะ สักน้อย หนึ่งแห่งสรรพางค์กายของเธอผู้ได้ปฐมฌานนั้น อันปีติและสุขที่เกิดแต่ วิเวกไม่สัมผัสแล้วหามีไม่" ดังนี้ แม้จิตเตกัคคตาก็สัมผัสในอารมณ์ * มหาฎีกาว่า โดยเสมอ คือ โดยความเสมอกันแห่งอินทรีย์ ชอบโดยไม่มีความหย่อน และ ความฟุ้ง เพราะไกลจากปฏิปักขธรรม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More