ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 71
ตามที่เหมาะกันอย่างยิ่งประการ ๑ แต่ขึ้นชื่อว่ากุศลภาวนาที่ไม่ข่มโทษ
ทั้งหลายมีราคะเป็นต้นก็ดี ที่ไม่เป็นอุปการะแก่คุณทั้งหลาย มีศรัทธา
เป็นอาทิก็ดี หามีไม่ จริงอยู่แม้ในเมฆยสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ได้ตรัสคำนี้ ( แก่พระเมฆิยะ ) ว่า ธรรม ๔ ประการ เธอพึงเจริญ
ให้ยิ่งขึ้นไป คือ อสุภทั้งหลาย เธอพึงบำเพ็ญเพื่อละราคะ เมตตา
เธอพึงบำเพ็ญเพื่อละพยาบาท อานาปานสติเธอพึงบำเพ็ญเพื่อตัดวิตก
อนิจจสัญญาเธอพึงบำเพ็ญเพื่อถอนอัสมิมานะ ดังนี้ แม้ในราหุลสูตร
ก็ตรัสกรรมฐาน ๗ ข้อแก่พระราหุลผู้เดียว โดยนัยว่า " ดูกรราหุล
เธอจงบำเพ็ญเมตตาภาวนา " ดังนี้เป็นอาทิ" เพราะเหตุนั้น บัณฑิต
อย่าปักใจเชื่อในคำ ( ที่กล่าวไว้ ) เท่านั้น ควรค้นหาอธิบายในอนาคต
สถานทั้งปวงเทอญ
[การถือกรรมฐาน]
(ต่อไป) นี้เป็นวินิจฉัยในกัมมัฏฐานกถาในข้อว่า " ถือเอา
กรรมฐาน " นั้น
ก็คําแสดงความแห่งบทว่า " ถือเอา "
า" นี้ มีดังต่อไปนี้ อัน
พระโยคีนั้นจึงเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้มีประการอันกล่าวแล้วตามนัยที่ว่า
* มหาฎีกาว่า การที่ตรัสธรรม ๔ ประการอันควรบำเพ็ญแก่
พระเมฆิยะผู้เดียว หาใช่ว่าเพราะพระเมฆิยะผู้เดียวท่านมีจริต ๔ อย่างไม่ และที่ตรัส
กรรมฐาน ๓ ข้อแก่พระราหุลผู้เดียว ก็ใช่ว่าพระราหุลท่านมีจริตไปทุกอย่างหามิได้เพราะ
ฉะนั้นจึงเข้าใจได้ว่า กรรมฐานทุกข้อเป็นเครื่องข่มอกุศลทั้งปวง และเป็นเครื่องก่อเกิด
กุศลทั้งสิ้น