การปฏิบัติทางจิตในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 124
หน้าที่ 124 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงการปฏิบัติทางจิตที่สำคัญในวิสุทธิมรรค โดยการเน้นความสำคัญของความเพียร และการประกอบความสมดุลระหว่างวิริยะและสมาธิเพื่อที่จะไม่ละทิ้งความพยายาม ในการพัฒนาจิตใจและส่งเสริมสมาธิให้สามารถเข้าถึงอัปปนาได้ในที่สุด มีการยกตัวอย่างถึงการดำเนินชีวิตของแมลงและการใช้ชีวิตของคนเพื่ออธิบายแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

-การปฏิบัติอัปปนา
-ความสำคัญของความเพียร
-การเสริมสร้างสมาธิ
-การกำหนดอาการของจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 122 ด้วยเมื่อพระโยคาวจร ครั้นนิมิตเกิดแล้ว ทำ อัปปนาโกศลนี้ให้ถึงพร้อมอยู่อย่างนี้ อัปปนา จึงจะเป็นไป ถ้าเมื่อเธอแม้ปฏิบัติอย่างนี้แล้ว อัปปนานั้นก็ยังหาเป็นไปไม่ แม้เช่นนั้น เธอ ผู้เป็นบัณฑิตก็ไม่ควรละความเพียรเสีย พึง พยายามอยู่นั่น เพราะขึ้นชื่อว่า คนละสัมมา- วายามะเสียแล้ว จะพึงได้บรรลุคุณวิเสสแม้ สักหน่อยหนึ่ง นั่นไม่ใช่ฐานะจะมีได้ เพราะ เหตุนั้น ผู้รู้กำหนดอาการเป็นไปแห่งจิตได้ พึงประกอบความเสมอกันแห่งวิริยะ ( กับสมาธิ ) ไว้ร่ำไป (คือ) จึงยกจิตซึ่ง มีความเพียร) ย่อหย่อนไปแม้หน่อยหนึ่งไว้ จึงข่มจิตอัน (มี ความเพียร ) ปรารภเกินไปลง ให้เป็นไปพอดี พึงเปลื้องจิตเสียจากความย่อหย่อน และความ ฟุ้งโดยประการทั้งปวงแล้ว ยังจิตอันมี ( ปฏิ ภาค )นิมิตอยู่จำเพาะหน้าดำเนินไป เยี่ยง ความเป็นไปแห่งแมลงและคน มีตัวผึ้งเป็นต้น ในเกสรดอกไม้ ในใบบัว ในใยแมลงมุม ในเรือ ในกะโหลก (น้ำมัน) อันท่าน พรรณนาไว้ (ในอรรถกถา) ฉะนั้นเถิด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More