ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ -
ตน ก็ (มา) ตีเอาที่นั้น ภิกษุนี้ (อยู่) ในวิหารนั้น ลางครั้งก็เที่ยว
ไปในแว่นแคว้นของพระราชาองค์นั้น ลางคราวก็เที่ยวไปในแว่นแคว้น
ของพระราชาอีกองค์หนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ทางการ (อาจ) สำคัญ
ว่าเธอเป็นจารบุรุษ ก็จะทำเอาเธอป่นปี้ไป
[อสปปายตา]
ข้อว่า " ความเป็นวิหารไม่สัปปายะ " มีวินิจฉัยว่า " ความ
ที่วิหารได้ชื่อว่า ไม่เป็นสัปปายะ ก็เพราะเป็นที่ชุกชุมไปด้วย
อารมณ์ มีรูปเป็นต้นบ้าง เพราะเป็นที่ๆ อมนุษย์หวงแหนบ้าง
เรื่อง( ต่อไป ) นี้ ( เป็นตัวอย่าง ) ในความเป็นวิหารที่อมนุษย์
หวงแหนนั้น
มีเรื่องเล่าว่า พระเถระรูปหนึ่งอยู่ในป่า อยู่มายักษิณีตนหนึ่ง
(หวังจะล่อให้พระเถระนั้นไปตกเหวตาย ตัวจะได้กินเนื้อพระเถระเป็น
ภักษาหาร หนแรกมา ) ยืนขับร้องขึ้นที่ใกล้ประตูบรรณศาลาของท่าน
ท่านออกไปยืน (ดู) ที่ประตู ( ไม่เห็นอะไร) มัน ( เลื่อนที่) ไป
ขับร้องขึ้นที่หัวที่จงกรม พระเถระก็ (ตาม) ไป (ดู) ที่หัวที่จงกรม( อีก
ก็ไม่เห็นอะไร ) มัน (เห็นว่าล่อพระเถระออกมาได้สองทอดแล้ว ที
จะได้การ คราวนี้ จึงไปยืนขับร้องขึ้นที่ (ปาก) เหวอันลึกตั้งร้อย
หน้าที่ 87
* ตรงนี้ประโยคหน้าท่านใช้ อิตรสุส ประโยคหลังใช้ เอตสฺส น่าจะเรียงหรือลอกคัด
ไขว้กันไป ที่ถูก อิตร จะต้องอยู่ประโยคหลังเสมอ ข้างต้นก็เห็นเป็นตัวอย่างอยู่คือ
ประโยคหน้า เอโก ราชา ประโยคหลังจึงใช้ อิตโรป ในที่นี้แปลตามเห็นว่าถูก