การฝึกจิตด้วยเมตตาในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 34
หน้าที่ 34 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงการฝึกจิตด้วยเมตตา โดยแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีจิตใจที่เมตตาต่อผู้อื่นและสัตว์ โดยการสร้างจิตสำนึกของการเกิดและความตายเพื่อละอเนสนาและการมีความประพฤติไม่ย่อหย่อนในสัมมาปฏิบัติ การเรียนรู้กรรมฐาน ๓ ที่รวมถึงเมตตา ซึ่งเป็นกรรมฐานที่พึงต้องการสำหรับการเจริญภาวนาอย่างต่อเนื่อง.

หัวข้อประเด็น

-เมตตาในการฝึกจิต
-การรักษาในธรรม
-กรรมฐานที่สำคัญ
-สัมมาปฏิบัติ
-อาการอันเมตตา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 33 อิสรชนทั้งหลาย ผู้มีจิตสันดานอันเมตตานั้นทำให้อ่อนโยนแล้ว รักษาล้อมกันอย่างดี โดยการรักษาอันเป็นธรรม ด้วยเมตตา (ที่เจริญไป ) ในคนทั้งหลายในโคจรคามนั้น เธอย่อมจะเป็นผู้ที่ คนเหล่านั้นผู้มีจิตอันเมตตานั้น ทำให้เลื่อมใสแล้ว ไม่รังแก เที่ยวไป ( ไหนได้ตามสบาย ) ด้วยเมตตา ( ที่เจริญไป) ในสัตว์ ดิรัจฉาน) ทั้งปวง เธอจะเป็นผู้มีการเที่ยวไปไม่ถูกขัดขวางในที่ทั้งปวง อนึ่ง ด้วยมรณสติ เธอคิดอยู่ว่า อวสฺส์ มยา มริตพฺพ์ ( เราต้องตายแน่ ) ดังนี้ จะละอเนสนาเสียได้ มีความสังเวชเพิ่มขึ้นๆ เป็นผู้มีความ ประพฤติไม่ย่อหย่อน ( ในสัมมาปฏิบัติ ) อนึ่ง เมื่อเธอมีจิตอันได้ สั่งสม ( อบรม ) แล้วในอสุภสัญญา อารมณ์ทั้งหลายแม้เป็นทิพย์ ย่อมไม่ยึดจิต ( ของเธอ ) โดยทำให้อยากได้ ด้วยประการดังกล่าวมา ด ฉะนี้ กรรมฐาน ๓ มีเมตตาเป็นต้น ท่านจึงเรียกว่า สัพพัตถกกัมมฐาน เหตุเป็นกรรมฐานที่พึงต้องการ คือพึงปรารถนาในภาวนานุโยคทั้งปวง เพราะความเป็นกรรมฐานมีอุปการะมากประการ ๑ เหตุเป็นที่ตั้ง แห่งการงาน คือการประกอบเนืองๆ ซึ่งโยคภาวนาที่ประสงค์ ประการ ๑ ส่วนว่ากรรมฐานข้อใดในกรรมฐาน ๔๐ อนุกูลแก่จริยา ของ ภิกษุใด กรรมฐานข้อนั้น ท่านเรียกว่า ปาริหาริย์กัมมฐานของภิกษุนั้น เพราะเป็นกรรมฐานที่เธอต้องบริหารเป็นนิจ” และเพราะเป็นปทัฏฐาน แห่งงานภาวนาเบื้องสูงของเธอด้วย ท่านผู้ใดให้กรรมฐานทั้ง ๒ อย่าง ๑. ฐาน มหาฎีกาแก้ว่า นิพฺพตฺติ เหตุเกิด ๒. มหาฎีกาขยายความว่า ปาริหาริย์กัมมฐานนี้ต้องบริหาร คือประกอบบำเพ็ญอยู่ ตลอดกาล ไม่งดเสียบ้างลางคราวก็ได้ ดุจสัพพัตถกกัมมฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More