ลักษณะการบริโภคตามจริต วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 51
หน้าที่ 51 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการบริโภคที่สัมพันธ์กับจริตของบุคคล ประเภทต่างๆ เช่น คนราคจริตจะชอบของหวานและบริโภคอย่างระมัดระวัง ส่วนคนโทสจริตชอบของหยาบและบริโภคอย่างไม่ใส่ใจ คนโมหจริตมีความชอบที่ไม่แน่นอน ข้อมูลนี้พบได้ในหนังสือวิสุทธิมรรคและสามารถนำไปปรับใช้เพื่อการศึกษาและเข้าใจจริตของมนุษย์ได้ดีขึ้น สามารถอ่านเพิ่มเติมที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-จริตของบุคคล
-ลักษณะการบริโภค
-วิสุทธิมรรค
-ประเภทอาหารตามจริต
-ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคนิสัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

* ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 50 นั่นเถิด เพราะมีส่วนเสมอกันแล บัณฑิตพึงบอกจริยาโดยกิจ ด้วย ประการฉะนี้ (ลักษณะโดยการบริโภค ข้อว่า " โดยการบริโภค " มีนัยดังนี้ คนราคจริต ชอบของกิน ที่บรรจงจัด และของหวาน เมื่อบริโภคเล่า ก็ทำคำข้าวกลมกล่อม ไม่ใหญ่นัก เป็นคนรู้จักรส (อาหาร) บริโภคไม่รีบร้อน ได้ของกิน ดีนิดหน่อยก็ดีใจ คนโทสจริตชอบของกินของที่หยาบๆ (ง่ายๆ ) และของเปรี้ยว เมื่อ บริโภคเล่าก็ทำคำข้าว ( ใหญ่จน ) เต็มปาก เป็นคนไม่รู้จักรส (อาหาร) รีบบริโภค ได้ของกินไม่ดีนิดหน่อยก็เสียใจ ภาชนะ ( คนโมหจริต เป็นคนชอบของกินไม่แน่นอน เมื่อบริโภคเล่าก็ ทำคำข้าวเล็กๆ ไม่กลมกล่อม ปล่อยเม็ดข้าว ( ให้ร่วง) ลงใน ( ที่ใส่ข้าว ) ทำปากเลอะ ความคิดฟุ้งซ่าน ตรึกตรองเรื่อง นั้นๆ ไปกินไป แม้บุคคล ๓ ที่เหลือมีคนสัทธาจริตเป็นต้น พึงทราบ ตามแนวแห่งบุคคล ๓ ที่กล่าวแล้วนั้นเถิด เพราะมีส่วนเสมอกันแล บัณฑิตพึงบอกจริยาโดยการบริโภค ด้วยประการฉะนี้ [ลักษณะโดยอาการมีการดูเป็นต้น] ข้อว่า " โดยอาการมีการดูเป็นต้น " นั้นมีนัยดังนี้ คนราคจริต เห็นรูปที่น่ารื่นรมย์ใจแม้สักหน่อย ก็จ้องดูเสียนานราวกะว่าเกิดความ รสปฏิสัเวที หมายความว่า เป็นคนรู้ว่ารสอร่อยของอาหารชนิดไหน เป็นอย่างไร สามารถชิมและติชมปรุงแต่งอาหารได้ ส่วน อรสปฏิสเวที อันเป็นลักษณะของคนโทส จริตนั้น ก็ได้แก่คนที่เรียกกันว่า "ลิ้นจระเข้" นั่นเอง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More