วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - การตัดปลิโพธ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 93
หน้าที่ 93 / 324

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้กล่าวถึงการดูแลตนเองและเครื่องเสนาสนะเพื่อการปฏิบัติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการตัดปลิโพธและทำความสะอาดสิ่งรอบตัว เช่น บาตรและจีวร การนั่งกรรมฐานอย่างถูกวิธี และการใช้ปฐวีกสิณในการภาวนา ล้วนแล้วแต่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสงบและการตระหนักรู้ในตนเอง นอกจากนี้ ยังมีการอ้างถึงคำสอนของพระโบราณาจารย์เกี่ยวกับการใช้ปฐวีกสิณในภาวนา และวิธีการนั่งอย่างถูกต้องตามที่กำหนดในมหาฎีกา

หัวข้อประเด็น

-การดูแลตนเอง
-การตัดปลิโพธ
-ภาวนาวิธี
-การนั่งกรรมฐาน
-ปฐวีกสิณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 91 คืออะไรบ้าง คือ ผมยาว เล็บยาวแลขน ( คือขนจมูกหนวดเครา ) ยาว พึ่งโกนเสีย พึงทำทัฬหกรรม (ปะ ดาม ) หรือตุนนกรรม (ชุน ) ในจีวรเก่าๆหรือว่าจีวร (สี) หมองไปก็ย่อมเสีย ถ้า สนิมในบาตรมี ก็พึงระบบบาตรเสีย เครื่องเสนาสนะมีเตียงตั้งเป็น ต้นก็พึงทำเสียให้สะอาด นี้เป็นพิสดารในข้อว่า " ทำการตัดปลิโพธเล็กน้อยเสีย " (วิตถารกถาแห่งภาวนาวิธี] คำพรรณนา (ต่อไป ) นี้เป็นคำกล่าวอย่างพิสดาร ในข้อว่า " อย่า ทำภาวนาวิธีทั้งปวงให้เสื่อมไป บำเพ็ญขึ้นเถิด " นี้ โดยกล่าวภาวนา วิธีแห่งกรรมฐานทั้งหมด จับปฐวีกสิณเป็นต้นไป ณ กาลบัดนี้ [ปฐวีกสิณ] ความพิสดารว่า ภิกษุผู้ตัดปลิโพธเล็กน้อยเสียได้อย่างนี้แล้ว กลับจากบิณฑบาต หลังอาหาร บรรเทาความเมาอาหารแล้ว นั่งอย่าง สบาย” ในโอกาสที่สงัด จึงถือเอานิมิตในดินที่แต่งขึ้นหรือไม่แต่ง ก็ได้ จริงอยู่ ข้อนี้พระโบราณาจารย์" ก็ได้กล่าวไว้ว่า " พระ โยคาวจรผู้จะขึ้นเอาปฐวีกสิณ ถือเอานิมิตในดิน” ที่แต่งขึ้น หรือ ๑. นั่งอย่างสบาย (สุขนิสินุน) ในที่นี้ มหาฎีกาท่านเกรงว่าคนจะเข้าใจผิดไปว่านั่ง อย่างไรก็ได้ ท่านจึงกำชับว่านั่งสบายอย่างนั่งกรรมฐาน คือขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรง ๒. ตายนัยมหาฎีกาท่านว่า วุตตกเหตุ โปราณฏฐกถาย ๓. บท ปฐวีย นี้ มหาฎีกาท่านว่า แม้รูปเป็นอิตถีลิงค์ แต่เพ่งมณฑลศัพท์ (คือเป็นดิน สันฐานกลมมีกำหนด มิใช่ดินกว้างใหญ่หากำหนดมิได้) จึงนับเอาเป็น นิปุสกลิงค์ เท่ากับ ปฐวีมณฑเล เพราะฉะนั้น ศัพท์วิเสสนะข้างหลัง จึงมีรูปเป็นนุปั, เป็นแถวไป คือ กเต วา อกเต วา สานุตโก โน อนนฺตเก ฯ เปฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More