วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 157
หน้าที่ 157 / 324

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงภิกษุผู้บัณฑิตที่สามารถเข้าถึงฌานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการทำความเข้าใจจิตและชำระสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อสมาธิ นอกจากนี้ยังมีการอธิบายถึงความสำคัญของการข่มกามฉันท์และการบรรเทาถีนมิทธะผ่านการฝึกปฏิบัติและวิธีการต่างๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงสภาวะของฌานได้อย่างสมบูรณ์และหลีกเลี่ยงอุปสรรคต่างๆ ที่มีผลต่อสมาธิของตนเอง

หัวข้อประเด็น

-ภิกษุผู้บัณฑิต
-ฌานและสมาธิ
-แนวทางการฝึกปฏิบัติ
-การเตรียมจิตก่อนเข้าสู่ฌาน
-การชำระสิ่งที่ขัดขวางการเจริญสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที 155 ทั้งหลาย ภิกษุผู้บัณฑิตเฉลียวฉลาดนั้นแล ย่อมเป็นผู้ได้ทิฏฐธรรม สุขวิหาร (ฌาน) ทั้งหลาย ได้สติสัมปชัญญะ นั่นเพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุผู้บัณฑิตเฉลียวฉลาดนั้นเรียนนิมิตแห่งจิต ของตนไว้ได้ดังกล่าวนั้น" ดังนี้ ก็แล เมื่อพระโยคีนั้นใช้วิธีจับอาการ (แห่งจิตของตนเป็นร่อง รอย ) ทำอาการเหล่านั้นให้ถึงพร้อมได้อีก ก็ชั่วแต่อัปปนา สำเร็จ ความตั้งอยู่นานหามีไม่ อันความตั้งอยู่นานจะมีได้ก็เพราะธรรม ทั้งหลายที่เป็นข้าศึกแห่งสมาธิถูกชำระไปอย่างดีแล้ว แท้จริงภิกษุใด มิได้ข่มกามฉันท์เสียอย่างดีด้วยปัจจเวกขณวิธีมีพิจารณาโทษของกาม เป็นต้น มิได้บรรเทาถีนมิทธะเสียอย่างดีด้วยอำนาจแห่งมนสิการ ปัสสัทธิ มิได้บรรเทาถีนมิทธะเสียอย่างดีด้วยอำนาจแห่งกาย- วิธีมีมนสิการถึงอารัมภธาตุ (ธาตุริเริ่ม) เป็นต้น มิได้ทำอุทธัจจ กุกกุจจะให้ถอนขึ้นเสียอย่างดีด้วยอำนาจแห่งมนสิการวิธีมีมนสิการถึง สมถะนิมิตเป็นต้น มิได้ชำระธรรมที่เป็นข้าศึกแห่งสมาธิอื่นๆ อีก เสียด้วยดีแล้วเข้าฌาน ภิกษุนั้นจะออก ( จากฌาน ) เร็วโดยแท้ ดังแมลงภู่ที่เข้าสู่ ( ปล่อง ) ที่อาศัยอันมิได้ทำให้หมดจด ย่อมออกมา ๑ นี่ก็เหมือนกัน น่าจะมีเปยยาลอะไรตกหล่นอยู่บ้าง ถ้าเราไม่ได้อ่านคำพรรณนา เรื่องนี้มาก่อน มาอ่านพระบาลีนี้ทีเดียว ก็แทบจะเข้าใจไม่ถึง ว่าท่านหมายความอย่างนี้ ๒ ในที่นี้ท่านกล่าว กายทุฏจุลละ ในที่แห่งพยาบาท (หรือปฏิฆะ) ชอบกลอยู่ มหา ฎีกาว่า กายทุฏจุลละ (ซึ่งแปลในที่นี้ว่า กายส่วนที่หยาบนั้น) คือความกระวนกระวายแห่ง กาย หรือความที่กายกระสับกระส่าย พยาบาทนิวรณ์เป็นเหตุแห่งความกระสับกระส่าย ทั้งทางกายละทางจิต เพราะฉะนั้น กล่าวกายทุฏจุลละแล้วก็ไม่ต้องกล่าวพยาบาท (เพราะถ้าข่มพยาบาทไม่ได้ กายปัสสัทธิก็ไม่ได้ ?)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More