ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 42
อารมณ์ ฉันใด ในฝ่ายกุศล ปัญญาก็เป็นคุณที่ไม่มีเยื่อยาง ไม่
พัวพันอารมณ์ฉันนั้น อนึ่ง โทสะส่ายหาแต่โทษ แม้ที่
แม้ที่ไม่เป็นจริง
ฉันใด ปัญญาก็สอดหาโทษแต่ที่เป็นจริง ฉันนั้น” โทสะเป็นไปโดย
อาการ ไม่เอื้อสัตว์ ( คน ) ฉันใด ปัญญาก็เป็นไปโดยอาการไม่เอื้อ
สังขาร ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น คนพุทธิจริต จึงมีส่วนเสมอกันแห่งคน
โทสจริต ฝ่ายว่าคนโมหจริต เมื่อพยายามทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
ให้เกิดขึ้นอยู่ วิตกทั้งหลายที่เป็นอันตราย (ต่อการทำกุศล) มักจะ
เกิดขึ้น ( ทั้งนี้ ) เพราะวิตกมีลักษณะใกล้ต่อโมหะ จริงอยู่ โมหะ
ไม่ปักลงไปได้ เพราะมัววุ่นวายอยู่ ( ไม่แน่ลงไปได้) ฉันใด วิตก
ก็ไม่หยุดลงได้ เพราะมัวตรึกไปมีประการต่างๆ (ไม่รู้จบ ) ฉันนั้น
อนึ่ง โมหะเป็นโทษที่โอนเอน เพราะความไม่ปักใจมั่น ฉันใด
วิตกก็เป็นธรรมที่ไหวไปมา เพราะความคิด (เปลี่ยนเรื่อง ) เร็ว
ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น วิตกจริต จึงมีส่วนเสมอกันแห่งโมหจริต แล
อาจารย์อีกพวก ๑ กล่าวว่า จริยา ๓ อย่างอื่นอีกก็มี โดยเนื่อง
ด้วยตัณหามานะทิฏฐิ ( แต่ว่า ) ใน ๓ อย่างนั้นตัณหาก็คือราคะนั่นเอง
มานะเล่าก็สัมปยุตตราคะนั้น เพราะฉะนั้น ตัณหา มานะ ทั้ง ๒ นั้น
๑. น่าจะหมายความว่า เกิดโทสะขึ้นแล้วก็เพ่งโทษคนอื่น หาความผิดให้คนอื่นแม้จะ
เป็นเรื่องไม่จริงก็ตาม ส่วนปัญญานั้นพิจารณาหาดูโทษ ( ในตนหรือในสังขาร ) ตามที่
เป็นอยู่อย่างไร เพื่อจะปล่อยวาง ดังนี้กระมัง ?
๒. หมายความว่า โทสะเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เอื้อ คือคิดร้ายต่อสัตว์ต่อคน ปัญญาเกิดขึ้น
ก็ไม่เอื้อ คือเบื่อหน่ายในสังขาร คิดเพิกสังเกตว่า ปัญญาที่ท่านว่า ๆ นี้เป็น
ปัญญาเบื้องสูงทั้งนั้น น่าสงสัยว่าพุทธินั้น ท่านหมายเอาปัญญาสูง ๆ เช่นนี้ หรือหมาย
เพียงว่า คนที่มีความฉลาดในสันดาน?