การกำหนดจำนิมิตและความกลัวในกรรมฐาน วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 227
หน้าที่ 227 / 324

สรุปเนื้อหา

การกำหนดจำนิมิตมีประโยชน์ในการทำให้พระโยคาวจรอดทนต่อความกลัวที่เกิดจากอารมณ์น่ากลัวในกรรมฐาน ซึ่งมักทำให้เกิดความสยองในใจ ในขณะเดียวกัน การทำให้ใจมั่นคงด้วยการปลงใจว่าร่างที่ตายแล้วไม่มีทางลุกขึ้นหรือเคลื่อนไหวได้เป็นวิธีหนึ่งในการลดความกลัวนี้ สุดท้าย ความแข็งใจและการตั้งสติจะช่วยให้พระโยคาวจรสามารถผ่านพ้นความกลัวได้ โดยเฉพาะเมื่อเผชิญกับอารมณ์น่ากลัวที่แทรกซึมเข้ามาในกรรมฐาน

หัวข้อประเด็น

-การกำหนดจำนิมิต
-ความกลัวในกรรมฐาน
-พระโยคาวจร
-อารมณ์น่ากลัว
-ความมั่นคงในจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 225 ทั้งหลาย มีข้อว่า การกำหนดจำนิมิตโดยรอบมีประโยชน์อย่างไร เป็น อาทิ ก็เมื่อพระโยคาวจรผู้ใด ไปสู่ที่ตั้งอุทธุมาตกนิมิตในเวลาไม่ บังควร ทำการกำหนดนิมิตแม้โดยรอบแล้วลืมตาแลดู เพื่อถือเอา นิมิตอยู่นั่นแล ซากนั้นจะปรากฏเป็นเหมือนลุกขึ้นยืน เหมือนจะจับเอา และเหมือนจะไล่เอา พระโยคาวจรนั้นเห็นซากนั้นเป็นอารมณ์ พิลึกสะพึงกลัว ( เช่นนั้น ) แล้ว ก็จะใจหายเหมือนจะเป็นบ้าไปถึง ซึ่งความกลัว ความสยอง ความขนพอง จริงอยู่ ในอารมณ์ ๓๘ ที่ ท่านจำแนกไว้ในบาลี อารมณ์อื่นที่จัดว่าเป็นอารมณ์น่ากลัวเห็นปานนี้ หามีไม่ เพราะในกรรมฐานนี้ พระโยคาวจร ( ถึงกับ) ได้ชื่อว่า ฌานวิพภันตกะ ( สึกจากฌาน) ก็มี เพราะเหตุอะไร เพราะความที่ กรรมฐาน (นี้ ) เป็นกรรมฐานมีอารมณ์น่ากลัวยิ่ง เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรผู้นั้น จึงแข็งใจทำสติให้ตั้งมั่นด้วยดี ปลงใจลงว่า " อันร่าง ที่ตายแล้วจะลุกขึ้นไล่ ( คนเป็น) ได้ไม่มี ก็ถ้าว่าก้อนหินหรือ ... ไม้เถา ที่อยู่ใกล้ๆ ร่างนั้นมันจะพึง (เคลื่อน) มาได้ไซร้ เจ้าร่าง (นั่น) ก็จะ พึง ( ลุก ) มาได้บ้างแต่ก้อนหินหรือ ... ไม้เถานั้นหา (เคลื่อน ) มาได้ ๑. เช่นเวลาโพล้เพล้ ๒. อญญ์เอว รูป น่าจะผิด ที่ถูกจะเป็น อญฺญ์ เอวรูป์ เพราะรูปศัพท์และความ ควร จะเป็นเช่นนั้น ๓. ในวิสุทธิมรรคนี้ ท่านใช้โยคีทุกทีไป แต่หูไทยถนัดข้างโยคาวจร เพราะโยคีเรา นิยมใช้เรียกผู้ประกอบโยคะ ที่มิใช่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก็เลยใช้ดึงกันไปดึงกันมา อยู่เช่นนี้ ๔. นิมิตร่วมที่ท่านเคยให้ตัวอย่างไว้มี ๔ คือ ก้อนหิน ไม้ต้น ไม้กอ ไม้เถา แต่ในที่นี้ ท่านกล่าวแต่อันต้นคือก้อนหิน กับอันท้ายคือไม้เถา ก็ต้องเข้าใจเอาได้ว่าท่านทําเปยยาล แต่เพราะในปาฐะไม่มีเครื่องหมายเปยยาล จึงใช้ ... แทน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More