การเข้าใจอุเบกขาในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 176
หน้าที่ 176 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทนี้พูดถึงอุเบกขาซึ่งแบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่ ฉฟังคุเบกขา, พรหมวิหารุเบกขา, และโพชฌงคุเบกขา อุเบกขาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำเสนอความเป็นอันเดียวกันและความแตกต่างในบริบทต่างๆ โดยยกตัวอย่างจากวิถีชีวิตของคนในสังคมที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของอุเบกขาในแง่ของฐานะและประสบการณ์ การรับรู้และเข้าใจอุเบกขาจึงช่วยให้เราเห็นความเชื่อมโยงระหว่างตนเองกับผู้อื่นในสังคม เพื่อเข้าถึงสติปาริสุทธิ์ที่เกิดจากอุเบกขาอย่างแท้จริง ในขณะที่อุเบกขานั้นยังถูกมองเป็นเจตนาที่คล้ายคลึงกันในหลายด้าน

หัวข้อประเด็น

-อุเบกขา
-วิสุทธิมรรค
-แนวคิดทางพุทธศาสนา
-การแยกประเภทของอุเบกขา
-ความสัมพันธ์ทางสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 174 วิหรติ เธอเป็นผู้วางเฉยอยู่ด้วย " ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า ฌานุเบกขา ส่วนอุเบกขาใดหมดจดจากปัจจนึกธรรมทั้งปวง เป็นอาการที่ ไม่ต้องขวนขวายแม้ในการระงับปัจจนึกธรรม อันมา ( ในจตตุถฌาน ปาฐะ ) อย่างนี้ว่า " อุเปกขาสติปาริสุทธิ์ จตุตถ์...เข้าถึง จตุตถฌานอันมีความบริสุทธิ์แห่งสติที่เกิดแต่อุเบกขา " ดังนี้ อุเบกขา นี้ชื่อว่า ปริสุทฺธุเบกขา ในอุเบกขา ๑๐ นั้น ฉฟังคุเบกขา ๑ พรหมวิหารุเบกขา ๑ โพชฌงคุเบกขา ๑ ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ๑ ฌานุเบกขา ๑ ปริสุทธุ เบกขา ๑ ( รวม ๖ ) โดยความก็เป็นตัตรมัชฌัตตุเบกขาอันเดียวเท่านั้น แต่ที่อุเบกขานั้นแตกกัน ( เป็นหลายประเภท ) นี้ก็เพราะความต่างกัน แห่งฐานะ ( ความเป็นอยู่ในสมัย) นั้นๆ ดุจคนแม้เป็นคนๆเดียว ก็ต่างกันได้โดยฐานะ เช่นเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นผู้ใหญ่ เป็น เสนาบดี เป็นพระราชา เพราะเหตุนั้น ในอุเบกขา 5 นั้น พึงทราบ ว่า ฉฟังคุเบกขามีอยู่ในที่ใด อุเบกขา ( อีก ๕ ) มีโพชฌงคุเบกขา เป็นต้นก็ไม่มีในที่นั้น หรือว่าโพชฌงคุเบกขามีอยู่ในที่ใด อุเบกขา (อีก ๕ ) มีฉฟังคุเบกขาเป็นอาทิก็ไม่มีในที่นั้น ก็แลความที่อุเบกขา ๖ นั้นเป็นอันเดียวกัน โดยความ ย่อมมีฉันใด แม้ความเป็นอันเดียว กันโดยความแห่งสังขารุเบกขาและวิปัสสนูเบกขาก็มีฉันนั้นแท้จริง อุเบกขาทั้งสองนั้นคือปัญญาเหมือนกัน แต่เป็น ๒ โดยกิจ เหมือน อย่างว่าเมื่อบุรุษถือ ไม้ง่ามค้นหางูซึ่ง ( เลื้อย) เข้าไปสู่เรือนเมื่อตอน เย็น พบมันซุกอยู่ที่ลังแกลบ จ้องดูว่ามันเป็นงูหรือมิใช่ เห็น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More