การศึกษาเกี่ยวกับจริยาในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 44
หน้าที่ 44 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้วิเคราะห์เกี่ยวกับจริยา ๖ ที่มีพฤติกรรมต่างกันตามผลของกรรมในภพก่อน นอกจากนี้ยังอธิบายถึงราคจริต โทสจริต และโมหจริตที่มีต้นเหตุจากสถานะและกรรมดีหรือไม่ดีในอดีต โดยเน้นว่าคนจะมีลักษณะเป็นอย่างใดขึ้นอยู่กับกรรมอันเป็นผลของการกระทำที่เคยมีในชีวิตก่อนหน้านี้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถเปิดเผยได้จากการสังเกตในชีวิตของแต่ละบุคคล คำอธิบายของอาจารย์ลางและที่มาของจริยาเหล่านี้จึงมีความสำคัญในการทำความเข้าใจอุปนิสัยของคนแต่ละคน

หัวข้อประเด็น

-จริยา ๖
-ราคจริต
-โทสจริต
-โมหจริต
-อาจิณกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที 43 ก็ไม่นอกเหนือราคจริยาไป ส่วนทิฏฐิจริยาก็ไปตามโมหจริยานั่นเอง เพราะทิฏฐิมีโมหะเป็นต้นเหตุ ถามว่า ก็จริยาเหล่านี้นั้น มีอะไรเป็นต้นเหตุ และจะพึงทราบ ได้อย่างไรว่า บุคคลนี้เป็นราคจริต บุคคลนี้เป็นจริตอย่างใดอย่างหนึ่ง ในจริตที่เหลือมีโทสจริตเป็นต้น และอะไรเป็นสัปปายะของบุคคลจริต อะไร ? က [ต้นเหตุแห่งจริยา ] ในจริยา ๖ นั้น จะแก้จริยา ๒ ข้างต้นก่อน อาจารย์ลางพวก กล่าวว่า จริยา ๒ ข้างต้นนั้น มีอาจิณกรรมในภพก่อนเป็นต้นเกตุ ประการ ๑ มีธาตุและโทษ (ในร่างกาย) เป็นต้นเหตุประการ ๑ ว่ากันว่า คนที่มากไปด้วยประโยค (คือการกิริยาวาจา ?) น่าพอใจ และกรรมที่ดีงามมาแต่ในปางก่อนก็ดี คนที่จุติจากสวรรค์ มาเกิด (เป็นคน) ในมนุษยโลกนี้ก็ดี ย่อมเป็นคนราคจริต คนมาก ไปด้วยกรรมอันเป็นเวร คือ ฟันเขา ตีเขา ฆ่าเขา จองจำเขาในปาง ก่อนก็ดี คนที่จุติจากนรก หรือกำเนิดงูมาเกิด (เป็นคน) ในมนุษย โลกนี้ก็ดี ย่อมเป็นคนโทสจริต คนที่มากไปด้วยการดื่มน้ำเมา และ ละเลยในการฟังและการไต่ถาม ในปางก่อนก็ดี คนที่จุติจากกำเนิด ดิรัจฉานมาเกิด (เป็นคน) ในมนุษยโลกนี้ก็ดี ย่อมเป็นคนโมหจริต โดยนัยดังนี้แล ท่านจึงกล่าวว่า จริยา ๓ มีอาจิณกรรมคนโมหจริต เป็นต้นเกตุ อนึ่ง บุคคลย่อมเป็นโมหจริต เพราะธาตุ ๒ อย่าง คือ ปฐวีธาตุ และอาโปรธาตุหนา เป็นโทสจริตเพราะธาตุ ๒ อย่างนอกนี้หนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More