ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 170
ย่อมแล่นไปในอารมณ์นั้นแล ซึ่งดวงหนึ่งในที่สุดเป็นรูปาวจรจิตมี
ตติยฌาน ดวงที่เหลือเป็นกามาวจรจิตโดยนัยที่กล่าวแล้ว (ในตอน
แก้ปฐมฌาน ) นั้นแล
ก็ด้วยภาวนานุกรมเพียงเท่านี้ พระโยคาวจรนั้น เพราะปีติคลาย
ไปด้วย เธอเป็นผู้วางเฉยอยู่ด้วย มีสติสัมปชัญญะด้วย เสวยสุข
ด้วยกายด้วย ซึ่งพระอริยะทั้งหลายกล่าว ( สรรเสริญ ) ว่า เป็นผู้วาง
เฉยมีสติเป็นสุขวิหารี (ผู้มีปกติอยู่เป็นสุข ) ดังนี้ ชื่อว่า เข้าถึงฌาน
ที่ ๓ อยู่ ด้วยประการดังนี้ ตติยฌานปฐวีกสิณอันละองค์ ๑ กอบ
ด้วยองค์ ๒ งาม ๓ ประการ พร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ก็เป็นอันพระ
โยคาวจรนั้นได้บรรลุแล้ว
[แก้อรรถแห่งตติยฌานปาฐะ ]
(แก้ ปีติยา จ วิราคา )
ในปาฐะทั้งหลายเหล่านั้น ปาฐะว่า ปีติยา จ วิราคา (เพราะ
ปีติคลายไปด้วย) นั้น มีวินิจฉัยว่า ความหน่ายปีติก็ดี ความก้าว
ล่วงปีติก็ดี ชื่อว่าวิราคะ (ความคลายไป) ก็ จ ศัพท์ในระหว่าง
บททั้ง ๒ เป็นสัมปิณฑนัตถนิบาต (คือ) จ ศัพท์นั้นผนวกเอารูปสนะ
หรือ วิตกวิจารณ์ รูปสมะ เข้ามาด้วย ในอรรถสองอย่างนั้น เมื่อ
จ ศัพท์ผนวกเอา วูปสมศัพท์เดียวเข้ามา พึงทราบโยชนา (การ
ประกอบความ) ดังนี้ว่า "เพราะปีติคลายไปด้วย เพราะสงบระงับ
ยิ่งขึ้นอีกหน่อยด้วย" ก็แลวิราคศัพท์ในโยชนานี้มีอรรถว่า หน่าย
เพราะเหตุนั้น จึงเห็นความ (ดัง) นี้ว่า "เพราะหน่ายปีติด้วย