วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - เสสกสิณนิเทศ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 194
หน้าที่ 194 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอวิธีการเจริญอาโปกสิณ โดยผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องนั่งในท่าที่สบาย และพิจารณานิมิตแห่งน้ำ เช่นในสระ ในบึง หรือทะเล เพื่อเข้าสู่วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงบัณฑิตที่พึงพานิมิตที่สามารถเกิดขึ้นได้แก่ผู้มีบุญและอธิการ ที่เคยสร้างขึ้นในอดีต การมีความตั้งใจที่จะอยู่สงัดและชมมุมมองของน้ำในมหาสมุทรเป็นสิ่งที่สำคัญในกระบวนการนี้ ข้อมูลทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าใจลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ในการเจริญกสิณต่างๆ

หัวข้อประเด็น

-การเจริญอาโปกสิณ
-นิมิตในน้ำ
-พระโยคาวจร
-ความสำคัญของการนั่งให้สบาย
-การปฏิบัติในสงัด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 192 เสสกสิณนิเทศ (อาโปกสิณ] ต่อไปนี้เป็นวิตถารกถาในอาโปกสิณ ในลำดับแห่งปฐวีกสิณ ก็แลพระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญปฐวีกสิณ เป็นผู้นั่งให้สบายฉันใดเล่า แม้ผู้จะเจริญอาโปกสิณก็พึงเป็นผู้นั่งให้สบายฉันนั้น แล้วถือเอานิมิต ให้น้ำเถิด บททั้งปวงว่า กนฺตวา อกเต วา (นิมิตที่แต่งขึ้นก็ดี ที่ มิได้แต่งขึ้นก็ดี ) เป็นต้น บัณฑิตพึง (นำมากล่าว) ให้พิสดาร (ตามนัยที่กล่าวแล้วในปฐวีกสิณ ) อนึ่ง บททั้งปวงนั้นพึง (นำมา กล่าว ) ให้พิสดารในอาโปกสิณนี้ฉันใด ในกสิณทั้งปวงก็พึงให้พิสดาร ฉันนั้นเถิด เพราะว่าต่อนี้ไป ข้าพเจ้าจักไม่กล่าวคำ ( กเต วา ฯ เป ฯ วิตถาเรตพฺพ์ ) เพียงเท่านี้อีก กล่าวแต่คำที่แปลกออกไป แม้ในอาโปกสิณนี้ นิมิตในน้ำที่มิได้แต่ง คือ (น้ำ) ในสระ ในบึง หรือในทะเล ในสมุทรก็ตาม ย่อมเกิดขึ้นได้แก่พระโยคาวจร ผู้มีบุญ มีอธิการ ได้สร้างไว้ในปางก่อนแท้ ดุจพระจุฬสิวเถร ฉะนั้น ได้ยินมาว่า เมื่อท่านผู้นั้นละลาภสักการะ ตั้งใจว่าจัก (ไป) อยู่อย่างสงัด ขึ้นเรือที่ท่ามหาติตถะไปชมพูทวีป มองดู (น้ำใน ) มหาสมุทร ในระหว่าง (ทาง) กสิณนิมิตอันมีส่วนเปรียบแห่ง (น้ำใน ) มหา สมุทร" นั้น ได้เกิดขึ้น (ส่วน พระโยคาวจรผู้มิได้สร้างอธิการไว้ ๑. โลณีย์ เช่นทะเลสาบน้ำเค็ม (?) ๒. หมายความว่า มีขนาดเท่าที่มองเห็น (?)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More