วิสุทธิมรรค: การข่มจิตและการเจริญสัมโพชฌงค์ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 117
หน้าที่ 117 / 324

สรุปเนื้อหา

ในประโยคที่ 8 ของวิสุทธิมรรค พระโยคาวจรได้อธิบายถึงการน้อมใจไปในปีติ และวิธีการข่มจิตในช่วงเวลาที่ควรจะข่ม โดยเฉพาะเมื่อจิตมีอาการฟุ้งซ่าน การเจริญสัมโพชฌงค์ในสมัยที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้จิตไม่สามารถสงบได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปรียบเทียบกับการดับกองไฟที่ไม่มีการใช้วิธีที่ถูกต้อง ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเลือกเวลาที่เหมาะสมในการเจริญธรรม.

หัวข้อประเด็น

-ความน้อมใจไปในปีติ
-การข่มจิต
-สัมโพชฌงค์
-ธรรมวิจัย
-การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ตทธิมุตฺตตา ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 115 ความน้อมใจไปในปีตินั้น พระโยคาวจร เมื่อยังธรรมเหล่านั้นให้เกิดขึ้นด้วยอาการเหล่านี้ ดังกล่าวมา ชื่อว่าทำสัมโพชฌงค์ ๓ มีธัมมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นต้น ให้เจริญ พระโยคาวจรยกจิตในสมัยที่ควรยก อย่างนี้แล (๕) ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ถามว่า " พระโยคาวจรข่มจิตในสมัยที่ควรข่มอย่างไร " วิสัชนา ว่า ในกาลใดจิตของเธอฟุ้งซ่านเพราะเหตุมีความเป็นผู้ปรารภความ เพียรเกินไปเป็นต้น ในกาลนั้นอย่าเจริญสัมโพชฌงค์ ๓ มีธรรมวิจัย สัมโพชฌงค์เป็นอาทิ แล้วเจริญสัมโพชฌงค์ ๓ มีปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นต้น จริงอยู่ ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า " ดูกรภิกษุทั้ง หลาย ต่างว่าบุรุษใคร่จะดับกองไฟใหญ่ (หาก) เขาใส่หญ้าแห้งๆ ลงไป ใส่มูล โคแห้งๆ ลงไป ใส่ฟืนแห้งๆ ลงไป เป่าเข้าไป และ ไม่เอาฝุ่นโปรยลงไปที่กองไฟนั้น ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นจะอาจดับไฟ กองใหญ่ (นั้น) ได้หรือหนอ " ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า " ข้อนั้นหา มิได้ พระพุทธเจ้าข้า " ตรัสต่อไปว่า " ฉันนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใดจิตฟุ้งซ่านอยู่ ในสมัยนั้น (กาลนั้น ) มิใช่กาลที่จะเจริญ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลที่จะเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่ กาลที่จะเจริญปีติสัมโพชฌงค์ นั่นเพราะเหตุอะไร ภิกษุทั้งหลาย (เพราะ) จิตฟุ้งซ่านอยู่ อันจิตฟุ้งซ่านนั้นยากที่จะทำให้สงบลงได้ ด้วยธรรมเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลาย ก็แลในสมัยใดจิตฟุ้งซ่านอยู่ ใน สมัยนั้น ( กาลนั้น ) เป็นกาลที่จะเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลที่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More