วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 309
หน้าที่ 309 / 324

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงความสำคัญของสังฆานุสสติ ที่ช่วยให้ผู้ที่มีความเข้าใจในพระพุทธศาสนามีความปีติและสามารถเผชิญกับความกลัวและทุกข์ได้อย่างมีสติ สังฆาะที่ติดตามพระสงฆ์จึงเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกใกล้ชิดกับธรรมะ ทำให้ผู้ปฏิบัติมีคุณธรรมและวางแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่สุคติในอนาคต และควรมีความไม่ประมาทเสมอในสังฆานุสสติ

หัวข้อประเด็น

-ความปีติและปราโมช
-การเผชิญความกลัว
-การอดกลั้นทุกข์
-การบูชาสังฆคุณ
-ความสำคัญของสังฆานุสสติ
-แนวทางการปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 307 เป็นผู้มากไปด้วยปีติและปราโมช ทนต่อความกลัวและความตกใจ สามารถอดกลั้นทุกข์ มีความรู้สึก ( เสมือน )ว่าได้อยู่กับพระสงฆ์ อนึ่ง แม้สรีระของเธออันสังฆคุณานุสสติประทับอยู่ ย่อมเป็นร่างควร แก่การบูชา ดุจโรงอุโบสถอันมีสงฆ์ประชุมกันอยู่ฉะนั้น จิตของเธอ ย่อมน้อมไปในอันจะบรรลุถึงพระสังฆคุณ อนึ่ง ในเมื่อมีการประจวบ เข้ากับวัตถุที่จะพึงล่วงละเมิด หิริโอตตัปปะย่อมจะปรากฏแก่เธอผู้ (รู้สึก ) ราวกะเห็นพระสงฆ์อยู่ต่อหน้าอนึ่งเล่า เมื่อยังไม่บรรลุคุณ อันยิ่งขึ้นไป เธอย่อมเป็นผู้มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เพราะเหตุนั้นแล ผู้มีปัญญาดี พึงทำความ ไม่ประมาทในสังฆานุสสติ อันมีอานุภาพมาก อย่างนี้ ทุกเมื่อเทอญ นี้เป็นถกามุข ( คำแก้ข้อที่สำคัญ ) อย่างพิสดาร ในสังฆานุสสติ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More