วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 42
หน้าที่ 42 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในวิสุทธิมรรคพูดถึงจริยา ๖ และความสัมพันธ์ระหว่างราคะ สัทธา และโทสในบุคคล โดยอธิบายว่าคนแต่ละประเภทมีความก้าวหน้าในทางกุศลอย่างไร และเปรียบเทียบกับทางอกุศล ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจความเป็นเอกภาพของศรัทธาและการประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้องในบางครั้ง ราคะจะเป็นตัวขัดขวางการเข้าถึงคุณธรรม แต่ในบางครั้งก็อาจมีการพัฒนาไปสู่การมีศรัทธาและปัญญาในด้านกุศล สุดท้าย ความเข้าใจในความใกล้ชิดระหว่างคุณธรรมและราคะเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยในทางปฏิบัติทางพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-จริยา ๖
-ราคะ
-สัทธา
-โทส
-พุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 41 က ก็ย่อมจะมีได้มากหลาย เพราะระคนด้วยวัตถุ ๓ ข้างหน้ามีราคะเป็นต้น เข้ากับวัตถุ ๓ ข้างหลัง มีสัทธาเป็นต้นอีกก็ได้ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ๓ โดยสังเขป จริยาก็มี ๖ เท่านั้น คำว่า จริยา ปกติ อุสฺสนุนตา (ความหนา) (๓ ความก็อันเดียวกัน นี้ ) โดย เนื่องด้วยจริยา ๖ นั้น บุคคลที่มี ๖ เหมือนกัน คือ คนราคจริต คนโทสจริต คนโมหจริต คนสัทธาจริต คนพุทธิจริต คนวิตกจริต เพราะ เหตุที่ในบุคคล ๖ จำพวกนั้น คนราคจริต ในเวลาประพฤติกุศล ย่อม ศรัทธากล้า เพราะศรัทธาเป็นคุณที่บางใกล้ต่อราคะ จริงอยู่ในฝ่ายอกุศล ราคะเป็นโทษที่สดใส ไม่มอซอ ฉันใด ในฝ่ายกุศล ศรัทธาก็เป็น คุณที่แจ่มใส ไม่มัวซัว ฉันนั้น ราคะย่อมแส่หาวัตถุกาม ฉันใด ศรัทธาก็แสวงหาสีลาทิคุณฉันนั้น ราคะไม่ทิ้งสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ เกื้อกูล ฉันใด ศรัทธาก็ไม่สละสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ฉันนั้น เพราะ เหตุนั้น คนสัทธาจริตจึงมีส่วนเสมอกันแห่งคนราคจริต” ส่วนว่าคนโทสจริต ในเวลาประพฤติกุศล ย่อมมีปัญญากล้า เพราะปัญญาเป็นคุณใกล้ ต่อโทสะ จริงอยู่ในฝ่ายอกุศลโทสะเป็นโทษที่ไม่มีเยื่อใย ไม่ติดพัน ๑. มหาฎีกาว่า เช่น ราคสัทธาจริต (รักก็ง่าย เชื่อก็ง่าย) โทสสัทธา จริยา ( โกรธก็ง่าย เชื่อก็ง่าย ) ฯลฯ ท่านว่าระคนกันไประคนกันมาได้ถึง ๓๖ หรือ มากกว่านั้น ๒. ที่ว่าสัทธาใกล้ราคะ นั้น มีได้หมายความว่า ใกล้จะกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะความจริงนั้นฝ่ายหนึ่งเป็นกุศล ฝ่ายหนึ่งเป็นอกุศล ไม่มีวันจะเป็นอันเดียวกันได้ มหาฎีกาท่านว่า คำว่าใกล้นั้น หมายความว่าเป็นสภาค คือมีส่วนเสมอกัน เสมอกัน โดยอะไรบ้าง ? ก็โดยความนุ่มนวล ความแสวงหา ความไม่ทอดทิ้ง ที่ท่านไขความไว้ นั่นเอง ท่านว่า สิ่งที่มีอะไรเสมอกัน ถึงไกลกันก็เหมือนใกล้กัน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More