วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 176 วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 178
หน้าที่ 178 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับความแตกต่างของอุเบกขาในปฐมฌานและทุติยฌาน ว่าทำไมจึงไม่มีการกล่าวถึงอุเบกขาในฌานทั้งสองนั้น รวมถึงการพิจารณาถึงบทบาทของสติและสัมปชัญญะ. การวิเคราะห์นี้ช่วยให้เข้าใจถึงความชัดเจนของกิจแห่งอุเบกขาในตติยฌาน ที่ปราศจากการครอบงำของวิตกและปีติ และยังกล่าวถึงความสำคัญของการมีสัมปชัญญะในพุทธศาสนา ความชัดเจนนี้นำไปสู่การเข้าใจลึกซึ้งในแนวทางฝึกปฏิบัติในศาสนา. ขอเชิญทุกท่านที่สนใจศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับหลักคำสอนนี้

หัวข้อประเด็น

-อุเบกขา
-ฌาน
-พระพุทธศาสนา
-สติและสัมปชัญญะ
-การวิเคราะห์ปาฐะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 176 คำนึงเป็นรส มีความไม่ต้องขวนขวายเป็นเครื่องปรากฏ มีความ คลายไปแห่งปีติเป็นเหตุใกล้ แล ในข้อนี้มีปัญหาว่า " ก็ฌานุเบกขานี้โดยความก็คือ ตัตรมัชฌิตตุ เบกขานั่นเอง และตัตรมัชฌัตตุเบกขานั้นก็มีอยู่แม้ในปฐมฌาน และทุติยฌานมิใช่หรือ เพราะเหตุนั้น อุเบกขานี้จึงเป็นข้อที่น่าจะ ตรัสด้วยปาฐะว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ ดังนี้ ไว้ในปฐมฌานและ ทุติยฌานนั้นบ้าง เหตุไฉนอุเบกขานั้นจึงไม่ได้ตรัสไว้ (ในฌานทั้ง สองนั้น )"มีคำแก้ว่า " เพราะอุเบกขาในฌานทั้งสองนั้นมีกิจยัง ไม่ชัดเจน แท้จริง กิจแห่งอุเบกขาในฌานทั้งสองนั้น จัดว่ายังไม่ ชัดเจน เพราะถูกปัจจนึกธรรมมีวิตกเป็นอาทิครอบงำอยู่ ส่วนอุเบกขา ในตติยฌานนี้ เพราะความที่วิตกวิจารและปีติไม่ครอบงำ เป็นเสมือน ว่าโงศีรษะขึ้นได้แล้ว จึงเกิดเป็นธรรมชาติมีกิจชัดเจน เพราะฉะนั้น จึงตรัสไว้ " พรรณนาความอย่างครบถ้วนแห่งปาฐะว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ นั้น จบแล้ว ( แก้ สโต จ สมฺปชาโน ) บัดนี้พึงทราบวินิจฉัยในปาฐะว่า สโต จ สมุปชาโน นี้ ( (ต่อไป) ภิกษุชื่อว่า สโต เพราะระลึกได้ ชื่อว่า สมฺปชาโน เพราะรู้ตัวโดยชอบ ( สองบทนั้นก็คือ ) สติและสัมปชัญญะ พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสโดยเป็นบุคคลใน ๒ อย่างนั้น สติ มีความระลึกได้ เป็นลักษณะ มีความไม่ลืมเป็นรส มีความระวังรักษาเป็นเครื่อง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More