การใช้วาจาแท้และประโยชน์ในพระธรรม วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 265
หน้าที่ 265 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์วาจาที่มีความจริงแท้โดยพระตถาคต ซึ่งมีการแยกประเภทของวาจาเป็น 4 ประเภทตามความจริง ความเป็นประโยชน์ และความรู้จักกาลในการกล่าว วาจาที่ไม่เป็นจริงไม่ควรกล่าว ไม่ว่าจะได้รับความชอบใจหรือไม่ และเน้นว่าความรู้จักในการใช้วาจาอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ

หัวข้อประเด็น

-การใช้วาจาในพระพุทธศาสนา
-การวิเคราะห์วาจา
-หลักธรรมคำสอน
-รู้จักกาลในการใช้วาจา
-ประโยชน์ของวาจา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

.. ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 263 (๑) ตถาคตรู้วาจาใดว่า เป็นวาจาไม่จริงไม่แท้ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่นๆ ด้วย ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น (๒) แม้วาจาใดตถาคตรู้ว่าเป็นวาจาจริงแท้ ( แต่ว่า ) ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่นๆ ด้วย แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่กล่าว (๓) ส่วนวาจาใด ตถาคตรู้ว่า เป็นวาจาจริงแท้ประกอบด้วย ประโยชน์ ถึงวาจานั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่นๆ ใน ข้อนั้น ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้จักกาลที่จะใช้วาจานั้น (๔) ตถาคตรู้วาจาใดว่า เป็นวาจาไม่จริงไม่แท้ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ถึงวาจานั้นเป็นที่รักที่ชอบใจของคนอื่นๆ ตถาคตก็ไม่ กล่าววาจานั้น (๕) แม้วาจาใด ตถาคตรู้ว่าเป็นวาจาจริงแท้ แต่ไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ ถึงวาจานั้นเป็นที่รักที่ชอบใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้น ตถาคตก็ไม่กล่าว (๖) ส่วนวาจาใด ตถาคตรู้ว่าเป็นวาจาจริงแท้ ประกอบด้วย ประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รักที่ชอบใจของคนอื่นๆ ด้วย ในข้อนั้น ตถาคตย่อมเป็นผู้รู้จักกาลที่จะใช้วาจานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น บัณฑิตพึงทราบว่าทรงพระนามว่า สุคโต เพราะความที่ตรัสชอบ ดังกล่าวมาฉะนี้ประการ ๑ * ม.ม. ๑๓/๕๒
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More