ความแตกต่างของกสิณ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 206
หน้าที่ 206 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจความแตกต่างของกสิณเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า บุคคลลางคนกำหนดกสิณไปเบื้องบน หรือเบื้องล่าง ด้วยคำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับอุทธ์ อโธ ติริย์ อทวย์ และอปฺปมาณ โดยพระโยคาวจรได้ขยายความหมายให้ชัดเจนขึ้น เช่น การเห็นรูปด้วยทิพจักษุ การแผ่แสงสว่างไปยังที่ต่างๆ ตามที่กล่าวถึงในพระไตรปิฎก ซึ่งสามารถกลับไปอ่านรายละเอียดได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-กสิณและความหมาย
-การกำหนดกสิณ
-ประเภทของกสิณ
-ความสำคัญของกสิณในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

* ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 204 [ความแตกต่างแห่งกสิณ กสิณทั้งหมดนั่น มีความแตกต่าง (ดัง) นี้ คือ อุทธ์ (ขยายขึ้น เบื้องบน ) อโธ ( ขยายลงเบื้องล่าง ) ติริย์ (ขยายไปโดยขวางรอบตัว ) อทวย์ ( ขยายไปไม่เป็น ๒ ) อปฺปมาณ (ขยายไปไม่มีประมาณ) จริงอยู่ ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า " บุคคลลางคนกำหนดกสิณไป เบื้องบน ลางคนกำหนดกสิณไปเบื้องล่าง ลางคนกำหนดกสิณไป โดยขวาง ไม่เป็น ๒ ไม่มีประมาณ " ดังนี้เป็นต้น ในคำเหล่านั้น คำว่า อุทธ์ คือมุ่งสู่ท้องฟ้าเบื้องบน คำว่า อโธ คือมุ่งสู่พื้นดินเบื้องล่าง คำว่า ติริย์ คือกำหนดไปรอบตัวดุจลาน แท้จริง พระโยคาวจรลางท่าน ขยายกสิณไปเบื้องบนทางเดียว ลางท่าน ขยายไปเบื้องล่าง ลางท่านขยายไปโดยรอบตัว หรือแผ่ไปอย่างนั้น ตามเหตุการณ์นั้นๆ ดังผู้ใคร่จะเห็นรูปด้วยทิพจักษุ ก็แผ่แสงสว่างไป ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ๓ บทว่า อุทฺธ์ อโธ ติริย์ ส่วนคำว่า อทุวย์ นี่ ตรัสเพื่อ (แสดง ) ความที่กสิณอันหนึ่ง ไม่กลายเป็นกสิณอันอื่นไป เปรียบเหมือนเมื่อคนลงน้ำไป ก็มีแต่น้ำ ไปทุกทิศ ไม่มีสิ่งอื่นฉันใด ปฐวีกสิณก็ย่อมเป็นแต่ปฐวีกสิณเท่านั้น ความระคนกับกสิณอื่นหามีแก่ปฐวีกสิณนั้นไม่ ฉันนั้น นัยดังนี้นี่ จึง ทราบในกสิณทั้งปวงคำว่า อปฺปมาณ นี่ตรัสโดยที่การแผ่ไปแห่ง มหาฎีกาว่า ถ้าใคร่จะเห็นรูปในเบื้องบนก็แผ่แสงสว่างไปเบื้องบน ถ้าใคร่ จะเห็นรูปในเบื้องล่าง ก็แผ่แสงสว่างไปเบื้องล่าง ถ้าใคร่จะเห็นรูปโดยรอบก็แผ่แสง สว่างไปรอบๆ ตัว
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More