ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 273
ทิศเดียว " ดังนี้เป็นต้น บัณฑิตพึง (นำมากล่าว ) ให้พิสดาร เทอญ
[แก้อรรถบท สตฺถา เทวมนุสฺสานํ]
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สตฺถา (ศาสดา) เพราะทรง
พร่ำสอน ( เวไนยสัตว์ ) ด้วยประโยชน์โลกนี้ ประโยชน์โลกหน้า และ
ประโยชน์อย่างยิ่ง (คือ พระนิพพาน ) ตามสมควร อีกนัยหนึ่ง พระนาม
ว่า สตฺถา (นั้น) หมายความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสัตถวาหะ
(ผู้นำหมู่ดุจนายกองเกวียน) อรรถาธิบายในข้อนี้บัณฑิตพึงทราบ
ตามนัยแห่ง ( บาลี ) นิเทศก็ได้ว่า " สัตถวาหะ ( นายกองเกวียน ) ย่อม
นำหมู่เกวียนให้ข้ามดันการ คือให้ข้ามโจรกันดาร ให้ข้ามวาฬกันดาร
ให้ข้ามทุพภิกขกันดาร ให้ข้ามนิโรทกกันดารจนออกนอกล่วงพ้น
(แดนกันดาร ) ไปถึงพื้นที่เป็นอันเกษม ( ปลอดภัย ) ฉันใด พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นนั่นแล ทรงเป็นสัตถา คือเป็นสัตถวาหะ ยัง
สัตว์ทั้งหลายให้ข้ามภพกันดาร ให้ข้ามชาติกันดาร"... ดังนี้เป็นอาทิ
คำว่า เทวมนุสฺสานํ ความว่าของเทวดาทั้งหลายด้วย ของมนุษย์
ทั้งหลายด้วย คำ ( เทวมนุสฺสาน) นี้ตรัสโดยกำหนดเอาเวไนยสัตว์
ชั้นอุกฤษฏ์ และโดยกำหนดเอาเวไนยสัตว์ที่เป็นภัพพบุคคล” แต่ความ
จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายด้วย
๑. ม.อุ. ๑๔/๔๐๕
๒. บุ.. ๓๐/๓๑๓
๓. หมายความว่า เทวดาและมนุษย์เท่านั้น นับเป็นสัตว์ชั้นสูงอยู่ในฐานะจะเป็น
ภัพพบุคคล คือผู้ควรจะดำเนินไปสู่ธรรมอันถูกต้องได้ สัตว์ดิรัจฉานไม่อยู่ในฐานะ
เช่นนั้น