วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - ทุกขโทมนัสและสันทิฏฐิกะ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 296
หน้าที่ 296 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงทุกขโทมนัสทางใจ โดยอธิบายว่าผู้ที่สามารถละความกำหนัดได้จะไม่คิดเบียดเบียนตนหรือผู้อื่น ซึ่งจะไม่รู้สึกทุกข์ใจ นอกจากนี้ยังมีการอธิบายถึงธรรมสันทิฏฐิว่าเป็นธรรมที่ผู้คนสามารถบรรลุได้ด้วยปัญญาของตนเอง และกล่าวถึงโลกุตตรธรรมที่ช่วยชนะกิเลสด้วยการเห็นและเข้าใจถึงความจริง ทำให้คนสามารถหลุดพ้นจากทุกข์ได้.

หัวข้อประเด็น

-ทุกขโทมนัส
-สันทิฏฐิกะ
-ธรรม
-โลกุตตรธรรม
-การเห็น

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 294 ทุกขโทมนัสทางใจบ้าง ครั้นความกำหนัดเขาละเสียได้แล้ว เขาย่อม ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่คิด เพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้ง ๒ ฝ่ายบ้างเขาย่อมไม่ได้เสวยทุกข โทมนัสทางใจ ดูกรพราหมณ์ ธรรมเป็นสันทิฏฐิกะอย่างนี้ประการ ๑ ดังนี้ อนึ่ง แม้โลกุตตรธรรมทั้ง ๕ ก็ชื่อสันทิฏฐิกะ เพราะเป็นธรรมที่ บุคคลใดๆ ได้บรรลุแล้ว บุคคลนั้นๆพึงละความที่จะพึงถึงด้วยความ เชื่อผู้อื่นเสียแล้ว เห็นเองด้วยปัจจเวกขณญาณ [นัยที่ ๒ แปลว่า " ชนะ ( กิเลส ) ด้วยสันทิฏฐิ " ៩ นัยหนึ่ง ทิฏฐิอันพระอริยเจ้าสรรเสริญ ชื่อว่า สันทิฏฐิ โลกุต ตรธรรมย่อมชนะ (กิเลส ) ด้วยสันทิฏฐิ เหตุนั้นจึงชื่อ สันทิฏฐิกะ จริงอย่างนั้น ในโลกุตตรธรรมนั้น อริยมรรคย่อมชนะกิเลสทั้งหลาย ด้วยสันทิฏฐิ อันสัมปยุต (กับตน ) อริยผลย่อมชำระกิเลสทั้งหลาย ด้วยสันทิฏฐิ อันเป็นเหตุ (ของตน) พระนิพพานย่อมชนะกิเลส ทั้งหลายด้วยสันทิฏฐิ อันเป็นวิสัย (อารมณ์ของตน ) เพราะเหตุนั้น โลกุตตรธรรมทั้ง 8 จึงชื่อว่าสันทิฏฐิกะ เพราะชินะ (กิเลส ) ด้วย สันทิฏฐิประดุจนักรบได้ชื่อว่า รถกะ เพราะ (รบ) ชนะด้วย รถ ฉะนั้น (นัยที่ ๓ แปลว่า " ควรซึ่งการเห็น "] อีกนัยหนึ่ง การเห็น เรียกว่า ทิฏฐะ ทิฏฐะนั่นเองเป็นสันทิฏฐะ แปลว่า การเห็น โลกุตตรธรรมย่อมควรซึ่งสันทิฏฐะ ( การเห็น ) *อง. ก. ๒๐/๑๙๙
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More