ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - 1
เสนาสนะสำหรับตน ( ให้เขาพัก ) แล้ว (ตนเอง) ไปอยู่ที่โคนไม้
หรือไม่ก็ที่ลานหิน แม้วันรุ่งขึ้น (ต่อไป) ก็เป็นอยู่อย่างนั้นแหละ
เพราะเช่นนี้ โอกาสสำหรับกรรมฐานก็จะไม่มี แต่ในวิหารติด
ทางเดินใด ความคับคั่งด้วยอาคันตุกะเช่นนั้นไม่มี ก็ควรอยู่ในวิหาร
(แม้ติดทางเดิน ) นั้นได้
[โสณฺฑุ]
สระโบกขรณีกรุด้วยหิน ชื่อว่า ตระพัง ในวิหารมีตระพังนั้น
ชนมากันมากเพื่อ (ตัก ) น้ำดื่ม พวกอันเตวาสิกของพระเถระราช
กุลุปกะทั้งหลาย ผู้อยู่วัดในพระนคร ก็จะพากันมาเพื่อประโยชน์
ด้วยรชนกรรม ( การซักย้อม ) เมื่อพวกเธอถามถึงเครื่องใช้มีภาชนะ
ปืนและรางเป็นต้น ก็จำจะต้องชี้ให้ว่า สิ่งนั้นๆ อยู่) ที่โน่นๆ การ
ช่วยขวนขวายเป็นประจำย่อมจะมีไปตลอดกาลอย่างนี้
(ปณฺณ์]
ในวิหารใด ใบไม้ที่เป็นผักต่างๆ มีอยู่ เมื่อเธอ (พระ
โยคี ) แม้เรียนกรรมฐานแล้วนั่งพักกลางวันอยู่ในวิหารนั้น พวกหญิง
หาผักจะมาร้องเพลงพลางเลือกเก็บใบไม้อยู่ใกล้ๆ ย่อมจะทำอันตราย
แก่กรรมฐานด้วยการรบกวนด้วยเสียงอันเป็นข้าศึกต่อกรรมฐานได้
[ปุปผี]
ส่วนวิหารใด กอไม้ดอกนานาพรรณมีดอกบานสะพรั่งอยู่
แม้ในวิหารนั้น ก็ย่อมจะมีอันตราย เช่นนั้นเหมือนกัน
หน้าที่ 82
* คำวา ราชกุลุปกะ ในที่นี้ น่าจะหมายความตรงกับพระราชคณะของเรา