การเจริญสมาธิและปลิโพธ ๑๐ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 16
หน้าที่ 16 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทนี้กล่าวถึงการเจริญสมาธิและปลิโพธ ๑๐ ที่เป็นเครื่องกังวลที่ส่งผลต่อภิกษุ โดยปลิโพธ ๑๐ ประกอบด้วย อาวาส ตระกูล ลาภ คณะ การงาน การเดินทาง ญาติ อาพาธ การเล่าเรียน และฤทธิ์ สาระสำคัญของอาวาสถูกอธิบายว่าเป็นที่อยู่ที่ภิกษุต้องกำจัดความกังวลทั้งปวง เพื่อเจริญสมาธิให้มีประสิทธิภาพ คำว่าอาวาสหมายถึงสถานที่ที่กินนอน ไม่เป็นสัญลักษณ์ของวัด และมีอิทธิพลต่อการทำสมาธิ

หัวข้อประเด็น

-การเจริญสมาธิ
-ปลิโพธ ๑๐
-ความหมายของอาวาส
-ภิกษุและเครื่องกังวล
-การเข้าใจในวิปัสสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - - หน้าที่ 15 อยู่ในวิหารอันเหมาะ ตัดความกังวลเล็กๆ น้อยๆ (เสียให้หมดด้วย ) แล้วพึงเป็นผู้ไม่ทำภาวนาวิธีทั้งปวงให้บกพร่องไป เจริญขึ้นเถิด นี้เป็นความสังเขปในการเจริญสมาธินั้น ส่วนความพิสดารดังต่อไปนี้ (ปลิโพธ ๑๐] วินิจฉัยในข้อที่ว่า " บรรดาปลิโพธ ๑๐ ประการ ปลิโพธใด ของเธอมีอยู่ ตัดปลิโพธนั้นเสีย " นี้ก่อน เครื่องกังวลนั้น คือ อาวาส ตระกูล ลาภ คณะ และการงานเป็นที่ ๕ การเดินทาง ญาติ อาพาธ การเล่าเรียน และฤทธิ์ รวมเป็น ๑๐ เครื่องกังวล ๑๐ นี้แล ชื่อว่า ปลิโพธ ในปลิโพธ ๑๐ นั้น อาวาสนั่นเอง เรียกว่าอาวาสปลิโพธ นัยในปลิโพธ นอกนี้มีตระกูลเป็นต้น ก็ดุจนัยนี้ อรรถาธิบายในปลิโพธ ๑๐ เหล่านั้น พึงทราบดังนี้ [อาวาสปลิโพธ] แม้ห้อง (นอนได้) เล็กๆ ห้องหนึ่ง ก็เรียกว่า อาวาส แม้บริเวณๆ หนึ่งก็เรียกว่าอาวาส แม้สังฆารามทั้งหมดก็เรียกว่า อาวาส” อาวาสนี้นั้นหาเป็นปลิโพธต่อภิกษุทั้งปวงไปไม่ ก็แต่ภิกษุใด ๑. คำว่าอาวาส ต้องแปลว่า "ที่อยู่" ไม่แปลว่า "วัด" คำว่า โอวรกะที่แปลว่า ห้องเล็กๆ นั้น น่าจะหมายเอากุฏิเล็กๆ อยู่ได้รูปเดียว ซึ่งมักเห็น ตามวัดหรือสำนักฝ่ายวิปัสสนาธุระในบ้านเมืองเรานี้ บริเวณ ได้แก่ที่อยู่ มีกุฏิหลังเดียว หรือหลายหลังก็ตาม มีกำหนดที่เป็นเขตแดน น่าจะตรงกับที่เราเรียกว่าคณะในวัดต่างๆ บัดนี้ สังฆาราม ก็คือวัดทั้งหมด อาจมีหลายบริเวณ หลายโอวรกะก็ได้ ความกังวลของภิกษุลางรูป อาจมีเฉพาะแต่โอวรกะที่ตนอยู่ ลางรูปกังวลกว้าง ออกไปถึงบริเวณที่ตนอาศัยอยู่ ลางรูปกังวลหมดทั้งวัดที่เป็นสำนักของตน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More