วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 254
หน้าที่ 254 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อเรื่องเกี่ยวกับกรรมที่เป็นเหตุแห่งการอุบัติในสภาวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอบาย สวรรค์ หรือพรหมโลก อธิบายถึงการประพฤติและการเจริญภาวนาเป็นปัจจัยที่นำพาไปสู่การเกิดในภพที่ดีตามกรรมที่สร้างขึ้น ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความปรารถนาและการกระทำของแต่ละบุคคล โดยยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนว่าแต่ละกรรมส่งผลอย่างไรในชีวิตหลังฆ่าตัวตาย เช่นเดียวกับการถามว่าทำไมการเจริญพรหมวิหารจึงเกี่ยวข้องกับกามุปาทาน

หัวข้อประเด็น

-กรรมและผลของกรรม
-อุบัติในอบาย
-อุบัติในสวรรค์
-อุบัติในพรหมโลก
-การเจริญภาวนา
-ปัญหาภาวะที่เกี่ยวข้องกับกาม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 252 เกิดในอบาย กรรมอันเป็นเหตุแห่งความอุปบัติในอบายนั้นของเขา เป็นกรรมภพ ขันธ์ทั้งหลายอันเกิดเพราะกรรมเป็นอุปบัติภพ ความ เกิดแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็นชาติ ความหง่อมไป ( แห่งขันธ์เหล่านั้น ) เป็นชรา ความสลายไป ( แห่งขันธ์เหล่านั้น ) เป็นมรณะ อีกคนหนึ่ง ปรารถนาว่า เราจักเสวยสมบัติในสวรรค์ แล้ว ประพฤติสุจริตเพราะกามุปาทานเป็นปัจจัยอย่างเดียวกันนั้น ครั้นเปี่ยม ไปด้วยสุจริต เขา (ตายไป) ก็เกิดในสวรรค์ นัย (ความต่อไป) ก็นัย เดียวกันนั้น คือ กรรมอันเป็นเหตุแห่งความอุปบัติในสวรรค์นั้นของเขา เป็นกรรมภพ ดังนี้เป็นต้น ส่วนอีกคนหนึ่ง ปรารถนาว่า เราจักเสวยสมบัติในพรหมโลก แล้วเจริญเมตตา เจริญกรุณา มุทิตา อุเบกขา เพราะกามุปาทาน เป็นปัจจัยเหมือนกัน ครั้นเต็มไปด้วยภาวนา เขา (ตายไป ) ก็เกิด ในพรหมโลก นัย (ความต่อไป) ก็นัยเดียวกันนั้น คือ กรรมอันเป็น เหตุแห่งความอุปบัติในพรหมโลกนั้นของเขาเป็นกรรมภพ ดังนี้เป็นต้น อีกคนหนึ่ง ปรารถนาว่าเราจักเสวยสมบัติในอรูปภพ แล้ว เจริญสมาบัติมีอากาสานัญจายตนะเป็นอาทิ เพราะกามุปาทานเป็น ปัจจัยเช่นเดียวกัน ครั้นบริบูรณ์ไปด้วยภาวนา เขา (ตายไป) ก็เกิด ในอรูปภพนั้นๆ กรรมอันเป็นเหตุแห่งความอุปบัติในอรูปภพนั้น * มีปัญหาว่า รูปภพและอรูปภพไม่เกี่ยวด้วยกามภูมิมิใช่หรือ ไฉนจึงว่าเจริญพรหมวิหาร และเจริญสมาบัติเพราะกามุปาทานเป็นปัจจัยเล่า ? มหาฎีกาท่านจึงแก้ไว้ว่า แม้ ภวราคะ ( ความยินดีพอใจในภพ) ก็นับเป็นกามุปาทาน โดยอาศัยคำนิเทศว่า สพฺเพปิ เตภูมิกา ธมฺมา กามนียฎเจน กามา ธรรมอันเป็นไปในไตรภูมิทั้งสิ้นได้ชื่อว่ากาม เพราะ อรรถว่าเป็นสิ่งที่สัตว์พึงปรารถนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More