การทำความไม่ประมาทในเทวตานุสสติ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 320
หน้าที่ 320 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการทำความไม่ประมาทในเทวตานุสสติที่มีอานุภาพมาก โดยการพิจารณาและปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเน้นให้ผู้มีปัญญาปฏิบัติอย่างตั้งใจและละเอียด โดยอ้างถึงพุทธวจนะที่กล่าวถึงอารมณ์และความยินดีในการปฏิบัติธรรม เช่น ความยินดีในอรรถและธรรมที่เกิดขึ้นจากการทรงจิตและพิจารณาอย่างลึกซึ้ง สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าถึงรสของธรรมและความสุขจากการปฏิบัติในทางธรรม

หัวข้อประเด็น

-วิสุทธิมรรค
-เทวตานุสสติ
-พุทธวจนะ
-การภาวนา
-อริยสาวก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 318 เพราะเหตุนั้นแล ผู้มีปัญญาดี พึงทำความ ไม่ประมาทในเทวตานุสสติ อันมีอานุภาพมาก อย่างนี้ ทุกเมื่อเทอญ นี่เป็นกถามุข ( คำแก้ข้อที่สำคัญ) อย่างพิสดาร ในเทวตานุสสติ [แก้อรรถบท อตฺถเวท์ เป็นต้นในมหานามสูตร] ก็แล ในการทรงแสดงอนุสสติเหล่านั้นโดยพิสดาร พระผู้มีพระ ภาคเจ้าตรัสคำว่า " ในสมัยนั้น จิตของเธอเป็นจิตดำเนินไปตรงแน่ว ปรารภตถาคต " ดังนี้เป็นต้น แล้วตรัสพุทธวจนะใดว่า " ดูกรมหานาม ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้วนั่นแล ย่อมได้รสอรรถ ย่อมได้ รสธรรม ย่อมได้ความปราโมชอันประกอบด้วยธรรมเมื่อเธอปราโมช ปีติย่อมเกิด " ดังนี้ ในพุทธวจนะนั้นพึงทราบว่า คำว่าได้รสอรรถ ตรัสหมายเอาความยินดี อันอาศัยอรรถแห่งอนุสสรณบาลี มีบทว่า อิติปิ โส ภควา เป็นต้นเกิดขึ้น คำว่า ได้รสธรรม ตรัสหมายเอา ความยินดีอันอาศัย (ตัว) บาลีเกิดขึ้น คำว่าได้ความปราโมชอัน ประกอบด้วยธรรม ตรัสโดย ( หมายถึง) ความยินดีทั้ง ๒ อย่าง ส่วนคำใดที่ตรัสในเทวตานุสสติว่า " ปรารภเทวดา " คำนั้นจึง ทราบว่าตรัสโดย ( หมายถึง) จิตอันปรารภเทวดาเป็นไป หรือโดย ( หมายถึง ) จิตที่ปรารภคุณทั้งหลาย (ของตน) อันยังความเป็นเทวดา ให้สำเร็จซึ่งเป็นคุณเช่นเดียวกับคุณของเทวดา เป็นไปในเบื้องแรก ( แห่งการภาวนา )
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More