สมาธิและฌานในพุทธศาสนา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 11
หน้าที่ 11 / 324

สรุปเนื้อหา

บทนี้สำรวจความหมายของสมาธิในพุทธศาสนา แบ่งสมาธิเป็น 4 ประเภทตามอานุภาพและอารมณ์ ได้แก่ ปริตตปริตตารมณ์, ปริตตอัปปมาณารมณ์, อัปปมาณปริตตารมณ์ และอัปปมาณอัปปมาณารมณ์ โดยระบุว่าคุณสมบัติของสมาธิแต่ละประเภทจะมีผลต่อการเข้าถึงฌานเบื้องสูงและการปฏิบัติตามหลักธรรม. สมาธิเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบรรลุถึงภาวะจิตที่ละเอียดลึกซึ้งและสามารถฝึกฝนเพื่อเพิ่มพูนอานุภาพทางจิตที่กว้างขวางและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังระบุถึงปฐมฌานที่ประกอบด้วยองค์ 5 ได้แก่ วิทยก, วิจาร, ปีติ และสุข ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการฝึกจิตเพื่อเข้าสู่ระดับที่สูงขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-ประเภทของสมาธิ
-ความสำคัญของฌาน
-อานุภาพและอารมณ์ของสมาธิ
-องค์ประกอบของปฐมฌาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สมาธิเป็นต้น ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 10 (จตุกกะที่ ๒] พึงทราบว่าสมาธิเป็นปริตตปริตตารมณ์ (มีอานุภาพน้อยทั้งมี อารมณ์แคบสั้น) ก็มี สมาธิเป็นปริตตอัปปมาณารมณ์ (มีอานุภาพ น้อยแต่มีอารมณ์กว้างขวาง) ก็มี สมาธิเป็นอัปปมาณปริตตารมณ์ (อานุภาพหาประมาณมิได้ แต่มีอารมณ์แคบสั้น) ก็มี สมาธิเป็น อัปปมาณอัปปมาณารมณ์ (มีอานุภาพประมาณมิได้ทั้งมีอารมณ์ กว้างขวาง) ก็มี ในสมาธิ 4 นั้น สมาธิใดยังไม่เชี่ยว ไม่อาจ เป็นปัจจัยแห่งฌานเบื้องสูงได้ สมาธินี้จัดเป็นปริตตะ (มีอานุภาพน้อย) ส่วนสมาธิใดเป็นไปในอารมณ์ที่ไม่ขยายตัว สมาธินี้ จัดเป็น ปริตตารมณ์ (มีอารมณ์แคบสั้น ) สมาธิใดเชี่ยว อันพระโยคาวจร อบรมดีแล้ว อาจเป็นปัจจัยแห่งฌานเบื้องสูงได้ สมาธินี้จัดเป็น อัปปมาณ (มีอานุภาพหาประมาณมิได้) อนึ่ง สมาธิใดเป็นไปใน อารมณ์ที่ขยายตัว สมาธินี้จัดเป็นอัปปมาณารมณ์ (มาอารมณ์กว้าง ขวาง) ส่วนนัยแห่งสมาธิที่คละกัน (ข้อ ๒ ข้อ ๓) พึงทราบโดย คละลักษณะแห่งสมาธิ (ข้อ ๑ ข้อ ๔) ที่กล่าวแล้วเข้ากัน อย่างนี้แล สมาธิเป็น ๔ โดยจำแนกตามอานุภาพและอารมณ์ มีปริตต ปริตตารมณ์สมาธิเป็นต้น (จตุกกะที่ ๓] ปฐมฌานประกอบด้วยองค์ ๕ ด้วยอำนาจ วิตก วิจาร ปีติ สุข
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More