วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - เตโชกสิณ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 196
หน้าที่ 196 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้ว่าด้วยการเจริญเตโชกสิณโดยพระโยคาวจร ที่ถือเอานิมิตในไฟเป็นตัวช่วยในการปฏิบัติธรรม เมื่อพระโยคาวจรผู้มีบุญได้สร้างนิมิตจากเปลวไฟในที่ต่างๆ เช่น ตะเกียงหรือโรงอุโบสถ ทั้งนี้ มีวิธีการแต่งกสิณนิมิตสำหรับผู้ที่ไม่มีบุญญาธิการ โดยต้องเลือกต้นไม้ที่แห้งสนิท เพื่อนำมาจัดสร้างไฟที่จะก่อให้เกิดนิมิตในช่องที่กวนใจ การพิจารณาในลักษณะของเตโชธาตุต้องมีความคว้าเข้ากับธรรมชาติของไฟโดยไม่ต้องใส่ใจถึงลักษณะเฉพาะของสีหรือความร้อน

หัวข้อประเด็น

-การเจริญเตโชกสิณ
-วิธีการแต่งกสิณนิมิต
-บทบาทของพระโยคาวจร
-นิมิตในไฟ
-ปฏิบัติธรรมพื้นฐาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 194 [เตโชกสิณ] ฝ่ายพระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญเตโชกสิณ จึงถือเอานิมิตในไฟ ในเตโชกสิณนั้น สำหรับพระโยคาวจรผู้มีบุญมีอธิการได้สร้างไว้ เมื่อถือเอานิมิตในไฟที่มิได้แต่ง แลดูเปลวไฟที่ตะเกียง ที่เตา ที่ๆ ระบมบาตรหรือที่ไฟไหม้ป่าที่ใดที่หนึ่งก็ตาม นิมิตก็เกิดขึ้นได้ ดังพระ จิตตคุตตเถร ฉะนั้น เล่ากันว่าเมื่อท่านผู้นั้นเข้าไปสู่โรงอุโบสถในวัน ธรรมสวนะ แลดูเปลวตะเกียงเท่านั้น นิมิตก็เกิดขึ้น ส่วนพระ โยคาวจรนอกนี้ ( คือผู้ไม่มีบุญญาธิการ ) ต้องแต่ง( กสิณนิมิต ) ขึ้น นี้เป็นวิธีทำ ในการแต่ง ( กสิณนิมิต) นั้น จึงผ่าฟืนไม้แก่นที่ ( แห้ง ) สนิท* ฝั่ง ( แดด ) ไว้แล้ว (ตัด) ทำเป็นท่อนๆ ( หอบ ) ไปสู่ โคนไม้หรือมณฑปที่เหมาะสม กอง (ปืน) เข้าโดยอาการดุจระบบบาตร ก่อไฟขึ้น แล้วทำให้เป็นช่อง (กว้าง) ประมาณคืบ 4 นิ้ว ( เป็นวงกลม ) เข้าที่เสื่อลำแพนหรือแผ่นหนังหรือผืนผ้าก็ได้ ตั้งเสื่อลำแพนหรือ แผ่นหนังหรือผืนผ้านั้นไว้ข้างหน้า นั่งโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล อย่า ใส่ใจถึงหญ้าและไม้ข้างใต้ (ช่อง) หรือควันและเปลวข้างบน (ช่อง) ถือเอานิมิตที่เปลวทึบตรงกลาง ( ช่อง) ไม่ต้องพิจารณาสี (ของไฟ ) โดยว่ามันเป็นสีขาว หรือว่าสีเหลืองเป็นต้น ไม่ต้องใส่ใจลักษณะ ( ของเตโชธาตุ ) โดยว่ามันร้อน จึงทำให้มันเป็นสิ่งเสมอกันกับที่อาศัย (ของมัน คือนึกเสียว่าสีนั้นมันเป็นอันเดียวกันกับไฟ ซึ่งที่อาศัย * ให้ใช้ปืนไม้แก่น เพื่อให้ติดไฟอยู่ทน ที่ว่าสนิท หมายความว่าไม่มียางแล้ว
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More