วิสุทธิมรรคแปล: ความเข้าใจในสมาธิและปัญญา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 152
หน้าที่ 152 / 324

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงกระบวนการดำเนินจิตสู่วิธีการเข้าถึงสมถะโดยไม่ต้องขวนขวายในขณะจิตหมดจด โดยพระโยคาวจรไม่มีความกังวลต่อการชำระจิตอีกต่อไป อธิบายถึงความสำคัญของสมาธิกับปัญญาในฌาน ซึ่งเป็นธรรมที่ไม่ล่วงเลยกัน ยุคนัทธธรรมเป็นกรอบการทำงานร่วมของสมาธิกับปัญญาที่สร้างความมั่นคงและการหลุดพ้นจากกิเลสต่างๆ.

หัวข้อประเด็น

-การเข้าถึงสมาธิ
-บทบาทของปัญญา
-การหลุดพ้นจากกิเลส
-การตั้งมั่นของจิต
-ความสำคัญของธรรมคู่

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 150 อยู่ในโคตรภูจิตนั้นให้สำเร็จ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นบริกรรม ) มาในอุปปาทะขณะแห่งปฐมฌานนั่นเอง โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้ เป็น ข้อแรก อนึ่ง เมื่อจิตนั้นหมดจดแล้วอย่างนั้น พระโยคาวจร ไม่ (ต้อง) ทําความขวนขวายในการชำระ เพราะไม่มีอะไรจะต้องชำระอีก ชื่อว่า เพ่งดูอยู่เฉยๆ ซึ่งจิตที่หมดจดแล้ว เมื่อจิตดำเนินสู่สมถะโดยเข้าถึง ความเป็นสมถะแล้วพระโยคาวจร ไม่ (ต้อง) ทำความขวนขวายใน การสมาทานอีก ชื่อว่าเพ่งดูอยู่เฉยๆ ซึ่งจิตที่ดำเนินสู่สมถะแล้ว และ เมื่อจิตนั้นละความระคนด้วยสังกิเลสแล้ว ตั้งมั่นอยู่โดยความเป็นหนึ่ง เพราะความที่เป็นจิตดำเนินสู่สมถะแล้วนั่นเอง พระโยคาวจร ไม่ (ต้อง) ทำความขวนขวายในอันตั้ง (จิต) ไว้มั่นโดยความเป็นหนึ่งอีก ชื่อว่า เพ่งดูอยู่เฉยๆ ซึ่งความตั้งมั่นโดยความเป็นหนึ่ง (แห่งจิต ) อุเปกขา นุพฺรูหนา บัณฑิตพึงทราบโดยว่าเป็นกิจแห่ง ตตฺรมชุณตฺตุเปกขา โดย นัยดังกล่าวมาฉะนี้ อนึ่ง ยุคนัทธธรรม (ธรรมคู่ ดุจคู่โคที่เขาจับเทียมแอกเข้าด้วย กัน ) กล่าวคือ สมาธิกับปัญญา ที่เกิดในฌานจิตนั้น อันอุเบกขาพอกพูน แล้วอย่างนี้เหล่านั้นใด เป็นธรรมไม่ล่วงเลยกันและกัน ( คือ เสมอกัน ) เป็นไปแล้วก็ดี อินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นอาทิ เหล่าใดเป็นคุณมีรส อันเดียว โดยรสคือวิมุติ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสต่างๆเป็นไปแล้ว ก็ดี พระโยคาวจรนั้นยังความเพียรใดอันควรแก่ภาวะนั้น คือควรแก่ภาวะ คือ ความไม่เป็นไปล่วงเลยแห่งธรรมเหล่านั้น และความเป็นคุณ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More