วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - อุเบกขา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 173
หน้าที่ 173 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์และอธิบายธรรมะในวิสุทธิมรรคเกี่ยวกับการลดความวิตกวิจารและปีติในการปฏิบัติฌาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตติยฌาน การบรรยายถึงความสำคัญของการละสังโยชน์ที่ทำให้เกิดความสงบและการมุ่งเน้นในการปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาสภาวะจิตที่สูงขึ้น และความขวนขวายของพระโยคาวจรในเส้นทางการบรรลุญาณต่างๆ

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของอุเบกขา
-การระงับวิตกวิจาร
-การละสังโยชน์
-การพัฒนาฌาน
-ความสำคัญของปีติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 171 เพราะสงบระงับด้วย" แต่เมื่อ จ ศัพท์นั้นผนวกเอาวิตกวิจารรูปสม ศัพท์เข้ามา พึงทราบโยชนาดังนี้ว่า "เพราะปีติคลายไปด้วย เพราะ วิตกวิจารระงับไปยิ่งขึ้นอีกหน่อยด้วย" ก็วิราคศัพท์ในโยชนนี้มีอรรถ ว่า ก้าวล่วง เพราะเหตุนั้นจึงเห็นความ (ดัง) นี้ว่า "เพราะ ก้าวล่วงปีติด้วย เพราะวิตกวิจารระงับไปด้วย" อันที่แท้ วิตกวิจารเหล่านั้นระงับไปแต่ในทุติยฌานแล้ว แต่ คำนั้น ( นำมา ) กล่าว ( ในวาระแห่งตติยฌานอีก ) เพื่อแสดงทางของ ฌานนี้ และเพื่อกล่าวสรรเสริญนี้ด้วย แท้จริง เมื่อกล่าวว่า " เพราะวิตกวิจารระงับไปด้วย "ดังนี้ ข้อที่ว่า " ความระงับแห่งวิตก วิจารเป็นทางแห่งฌานนี้แน่แท้ " นี้ย่อมปรากฏ อนึ่ง เมื่อกล่าว การละ (สังโยชน์) โดยนัยว่า เพราะละสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ มี สักกายทิฏฐิเป็นต้น ที่แม้มิใช่เพิ่งมาละในอริยมรรคที่ ๓ ดังนี้ ก็ย่อม เป็นอันกล่าวสรรเสริญ (ตติมรรคนั้น) ยังอุตสาหะให้เกิดแก่พระ โยคาวจรทั้งหลายผู้ขวนขวายเพื่อบรรลุตติยมรรคนั้น ฉันใด เมื่อกล่าว ความระงับไปแห่งวิตกวิจารทั้งหลาย ที่แม้มิใช่เพิ่งมาระงับในตติย ฌานนี้ ก็เป็นอันกล่าวสรรเสริญ (ตติยฌานนั้น) ฉันนั้นเหมือนกัน เหตุนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวความ (ดัง) นี้ว่า "เพราะก้าวล่วงปีติด้วย เพราะวิตกวิจารระงับไปด้วย" (แก้ อุเปกฺขโก จ วิหรติ) พึงทราบวินิจฉัยในปาฐะว่า อุเปกขโก จ วิหรติ นี้ (ต่อไป) ธรรมชาติอันหนึ่งชื่อว่าอุเบกขา เพราะอรรถว่าเพ่งโดยอุปบัติ หมาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More