ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 231
ความที่ธรรมวิเสสที่ตนได้บรรลุแล้ว เป็นคุณอันประจักษ์ ( แก่ตน )
วิจิกิจฉาในองค์พระศาสดาผู้ทรงแสดงข้อปฏิบัติก็ดี ในตัวข้อปฏิบัติก็ดี
ในผลแห่งการปฏิบัติก็ดี ก็ละได้นิวรณ์ทั้ง ๕ พระโยคาวจรละได้ดังนี้
อนึ่ง องค์ฌานทั้งหลายคือ วิตก อันมีการปักจิตลงจำเพาะในนิมิตนั้นแล
เป็นลักษณะ วิจาร อันยังกิจคือการตามเฟ้นนิมิตให้สำเร็จ ปีติ อันมี
๕
วิเสสาธิคม (อธิคม คือธรรมวิเสส ) ที่ได้แล้วเป็นปัจจัย สุขอันจัดว่า
เป็นปัสสัทธิเป็นเหตุ เพราะปัสสัทธิมีขึ้นแก่พระโยคาวจรผู้มีใจ
กอปรด้วยปีติ และเอกัคคตา อันจัดว่ามีสุขเป็น ( เหตุ) เพราะ
ความตั้งมั่นแห่งจิตเกิดมีแก่พระโยคาวจรผู้ถึงซึ่งความสุข (๕ นี้ ) ย่อม
ปรากฏขึ้นโดยนัยฉะนี้ แม้อุปจารฌานอันเป็นรูปเทียมแห่งปฐมฌาน
ก็เกิดแก่เธอในขณะนั้นเหมือนกัน ต่อนี้ไป คำพรรณนาทั้งปวงจนถึง
(ตอนที่เป็น ) อัปปนาและถึงความเป็นวสีแห่งปฐมฌาน บัณฑิตพึง
ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในปฐวีกสิณนั้นเถิด
๒. วินีลกอสุภกรรมฐาน
อนึ่ง แม้ในกรรมฐานทั้งหลาย ( ที่เหลือ ) มีวินีลกอสุภกรรม
ฐานเป็นอาทิต่อแต่นี้ไป ลักษณะ (การถือเอานิมิต) จับแต่การไป (ดู
อสุภ ) เป็นต้นไป ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยว่า " อุทธุมาตก อสุภนิมิตต์
อุคฺคณฺหนฺโต เอโก อทิติโย คนติ อุปฏฐิตาย สติยา (ภิกษุ
* ความตอนนี้ ถ้าไม่ทราบเค้ามูล อ่านไปเผินๆ อาจเข้าใจผิดว่า ได้ปฏิภาคนิมิต
ละนิวรณ์ได้แล้ว องค์ฌานจึงเกิด มหาฎีกาท่านจึงแถลงไว้ว่า อันจะละโทษโดยเว้นปฏิ
ปักขธรรมนั้นเป็นไปไม่ได้ ปฏิปักขธรรมแห่งนิวรณ์ ก็คือองค์ฌานนั้นเอง ดังที่กล่าวไว้ใน
คัมภีร์เปฎกะว่า "สมาธิ (คือเอกัคคตา) เป็นปฏิปักษ์แห่งกามฉันท์" ดังนี้เป็นต้น