วิสุทธิมรรค: การเข้าใจภาวะสมาธิและปัญญา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 13
หน้าที่ 13 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในวิสุทธิมรรคนี้ชี้แจงเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาสมาธิและปัญญาในระดับต่างๆ โดยมีการแบ่งประเภทของสมาธิออกเป็น ๔ ประเภท ตามภูมิและลักษณะการทรงตัว เช่น กามาวจรสมาธิ และรูปาวจรจิต ทำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิกับพัฒนาการทางจิตใจเฉพาะด้าน นอกจากนี้ยังมีการอธิบายถึงการเข้าถึงทุติยฌาน ความหมาย และคุณสมบัติของปัญญาที่เกี่ยวข้องในสภาวะมรรค

หัวข้อประเด็น

-การเข้าใจบริบทของวิสุทธิมรรค
-การจำแนกประเภทของสมาธิ
-การพัฒนาปัญญาในปฐมฌาน
-ผลกระทบของสมาธิต่ออารมณ์และจิตใจ
-การเข้าถึงทุติยฌานและอภิญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 12 ครอบงำบุคคลผู้ได้ปฐมฌาน ปัญญา ( ในปฐมฌานนั้น) ก็เป็น หานภาคินี (ไปข้างเสื่อม ) สติอันเป็นสภาพควรแก่ปฐมฌานนั้นหยุดอยู่ ปัญญาก็เป็นฐิติภาคินี (ไปข้างทรงตัว) สัญญาและมนสิการที่สหรคต ด้วยความไม่มีวิตกเกิดขึ้น (ดำเนินไป) ปัญญาก็เป็นวิเสสภาคินี ( ไปข้างวิเศษขึ้น ) สัญญาและมนสิการอันสหรคตด้วยนิพพิทาใกล้ต่อ วิราคะ ผุดขึ้น (เป็นไป) ปัญญาก็เป็นนิพเพธภาคินี (ไปข้างรู้แจ้ง แทงตลอด) ดังนี้ แม้สมาธิอันสัมปยุตด้วยปัญญานั้นก็เป็นสมาธิ 4 (อีกนัยหนึ่ง) อย่างนี้แล สมาธิเป็น ๔ โดยจำแนกตามฝ่าย มีหาน ภาคิยสมาธิเป็นต้น (จตุกกะที่ ๕ ] สมาธิ ๔ อย่างนี้ คือ สมาธิเป็นกามาวจร สมาธิเป็นรูปาวจร สมาธิเป็นอรูปาวจร สมาธิเป็นอปริยาปันนะ (ไม่เนื่องด้วยภูมิทั้ง ๓ นั้น คือเป็นโลกุตตระ) ในสมาธิ 4 นั้น เอกัคคตาชั้นอุปจารทั้งปวง จัดเป็นกามาวจรสมาธิ เอกัคคตาแห่งกุศลจิตมีรูปาวจรจิตเป็นอาทิ จัดเป็นสมาธิ ๓ นอกนี้ อย่างนี้แล สมาธิเป็น ๔ โดยจำแนกตามภูมิ มีกามาวจรสมาธิเป็นต้น (จตุกกะที่ ๖] ถ้าภิกษุทำฉันทะให้เป็นใหญ่ ได้สมาธิ ได้ความที่จิตมีอารมณ์ คือว่าเข้าถึงทุติยฌาน ปัญจกนัย ด. ๒. อภิ, วิ. ๔๑๕
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More