วิสุทธิมรรค: ปฐมฌานและอารมณ์ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 137
หน้าที่ 137 / 324

สรุปเนื้อหา

การศึกษาในวิสุทธิมรรคนี้นำเสนอการเข้าใจองค์ประกอบของปฐมฌาน โดยเฉพาะความสำคัญของวิตกและวิจารที่มีบทบาทในการนำจิตเข้ามาในอารมณ์ต่าง ๆ วิตกหมายถึงความจรดจิตลงไปในอารมณ์ ขณะที่วิจารคือการตามฟื้นอารมณ์ให้มั่นคง โดยทั้งสองมีลักษณะที่แยกไม่ออก ซึ่งทำให้พุทธศาสนิกชนที่ศึกษาเข้าใจการปฏิบัติทางจิตใจเพื่อบรรลุถึงการทำสมาธิอย่างถูกต้องได้มากขึ้น ผ่านการอธิบายที่ละเอียดและเข้าใจง่าย

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาปฐมฌาน
-ความหมายของวิตก
-ความหมายของวิจาร
-บทบาทของอารมณ์ในการทำสมาธิ
-การเชื่อมโยงระหว่างวิตกและวิจาร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 135 ปาฐะเพียงเท่านี้แล้ว บัดนี้จะทรงแสดงองค์ที่พึงประกอบเข้า ( แห่ง ปฐมฌานนั้น ) จึงตรัสคำว่า " สวิตกุกิ สวิจาร์ " เป็นต้น ในคำเหล่านั้น ความตรึกชื่อว่า วิตก มีคำอธิบายไว้ว่า ความ จรด (จิต) ลงไป วิตกนี้นั้น มีอันปักจิตลงไปในอารมณ์เป็นลักษณะ มีอันจรดไปทั่วๆ จรดไปรอบๆ เป็นกิจ จริงอย่างนั้น ด้วยองค์ คือ วิตกนั้น พระโยคาวจร ได้ชื่อว่าทำอารมณ์ให้เป็นสิ่งที่วิตกจรดไปทั่ว แล้ว ให้เป็นสิ่งที่วิตกจรดไปรอบแล้ว ดังนี้ วิตกนั้นมีการนำจิตเข้ามา ในอารมณ์ได้เป็นเครื่องปรากฏ ความตรองชื่อว่า วิจาร มีคำอธิบายไว้ว่า ความ ( พิจารณา) ตาม ( วิตก ) ไป วิจารนี้นั้นมีอันตามฟื้นอารมณ์เป็นลักษณะ มีอัน ประกอบสหชาตธรรมในอารมณ์นั้นไว้เป็นกิจ มีอันตามผูกพันจิต ไว้เป็นเครื่องปรากฏ เมื่อวิตกและวิจารนั้น แม้ว่าแยกกันไม่ได้ในที่ไหนๆ ก็ดี (แต่บัณฑิตพึงทราบว่า ) วิตกก็คือความจรดจิตลงไปทีแรก ดุจเสียง เคาะระฆัง เพราะอรรถว่าเป็นสภาพยังหยาบ ( กว่าวิจาร ) และเพราะ อรรถว่าเป็นสภาพไปหน้า ( วิจาร) วิจารก็คือความตามผูกพันไป ดุจเสียงครวญแห่งระฆัง เพราะอรรถว่าเป็นสภาพสุขุม ( กว่าวิตก ) และเพราะเป็นสภาพตามฟัน ( อารมณ์ ) อนึ่ง ในสองอย่างนั้น วิตก ยังมีแกว่ง เป็นการไหวแห่งจิตในเวลาแรกเกิดขึ้น ดุจการกระพือปีก * กตฺถจิ ในที่ไหน ๆ มหาฎีกาว่าหมายเฉพาะในปฐมฌาน และในปริตตจิตตุบาน ทั้งหลาย ไม่ใช่ทั่วไป
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More