การวิเคราะห์อสุภะในพระวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 238
หน้าที่ 238 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาอธิบายการเข้าใจอสุภะในวิสุทธิมรรค โดยการกำหนดอาการจากกระดูกและอวัยวะต่าง ๆ ผ่านการพิจารณาเชิงวิเคราะห์ คุณสมบัติของอสุภะนั้นสามารถวิเคราะห์โดยใช้หลักการต่าง ๆ เช่น รูปร่าง ขนาด สถานที่ และอาการต่าง ๆ ในกระดูกและร่างกาย เพื่อสะสมญาณในการตระหนักถึงอสุภะอย่างละเอียด ทำให้สามารถพิจารณาและเรียนรู้เกี่ยวกับสภาวะจริงของร่างกายและอสุภะได้อย่างลึกซึ้ง

หัวข้อประเด็น

- วิเคราะห์อสุภะ
- กรรมฐานในวิสุทธิมรรค
- การกำหนดอาการจากกระดูก
- ความสำคัญของอวัยวะในกรรมฐาน
- เทคนิคในการพิจารณาอสุภะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 236 สภาพ ) ไปปนกับโอทาตกสิณเข้า เพราะฉะนั้น ต้องดูว่าเป็นกระดูก โดยทางเป็นของปฏิกูลเท่านั้น คำว่าเพศ ( ลิงคะ ) ในอสุภะนี้ เป็นชื่อ ของอวัยวะทั้งหลายมีมือเป็นต้น เพราะฉะนั้น โดยเพศ พึงกำหนดตาม (อวัยวะคือ ) มือ เท้า ศีรษะ อก แขน สะเอว ขา แข้ง เถิด ส่วนว่า โดยสัณฐาน พึงกำหนดโดยความยาวและสั้น กลมและสี่ เหลี่ยม เล็กและใหญ่ทิศ และ โอกาส มีนัยดังกล่าวแล้ว ส่วน โดย ตัดตอน พึงกำหนดโดยขอบแห่งกระดูกนั้นๆ ในกระดูกเหล่านั้น นิมิตกระดูกท่อนใดแลปรากฏชัด จึงถือเอานิมิตนั้น ( ไปจน ) ถึง อัปปนาเถิด ส่วน โดยที่เว้า และ โดยที่นูน พึงกำหนดเอาตามที่เว้า และที่นูนแห่งกระดูกนั้นๆ อนึ่ง จึงกำหนดโดยสถานที่ว่า เรายืนอยู่ ที่ลุ่ม กระดูกอยู่ที่ดอน หรือว่าเรายืนอยู่ที่ดอน กระดูกอยู่ที่ลุ่ม ดังนี้ ก็ได้ ส่วน โดยที่ต่อ พึงกำหนดเอาตามที่กระดูก ๒ ท่อนชนๆ กัน โดยช่อง จึงกำหนดเอาตามระหว่างของกระดูกทั้งหลายนั้นแหละ ส่วน โดยรอบตัว จึงยังญาณให้ท่องเที่ยวไปในกระดูกจนทั่ว กำหนดไปว่า ตรงนี้กระดูกนี่ เมื่อนิมิตไม่ปรากฏแม้ด้วยภาวนาวิธีอย่างนี้ ก็พึงหยุด จิตไว้ที่กระดูกหน้าผากเถิด ก็การถือเอานิมิตด้วยอาการ ๑๑ อย่างนี้ ในอัฏฐิอสุภนี่เป็นฉันใด แม้ในอสุภข้อก่อนๆ นี้มีปุพวกอสุภเป็นต้น ก็พึงสังเกตเอาตามอาการ ตามอาการที่เหมาะกันเถิด ก็เพราะกรรมฐานข้อนี้ ย่อมสำเร็จได้ในร่างกระดูกหมดทั้งตัว ก็ได้ ในกระดูกท่อนเดียวก็ได้ เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรจึงถือเอา นิมิตด้วยอาการ ๑๑ 5 ในร่างกระดูกหรือท่อนกระดูกนั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More