ข้อความต้นฉบับในหน้า
เป็นวาระแห่งภวังคไป
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 127
ฝ่ายพระโคทัตตเถระนักอภิธรรม อ้างสูตรนี้ว่า "ธรรมทั้งหลาย"
อันเป็นกุศลที่เกิดก่อน ๆ ย่อมเป็นปัจจัยโดยเป็นอาเสวนปัจจัยแห่ง
"ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลที่เกิดหลัง ๆ" ดังนี้แล้ว กล่าวว่า "ธรรมที่"
เกิดหลัง ๆ ย่อมมีกำลังขึ้นด้วยอาเสวนปัจจัย เพราะเหตุนั้น อัปปนา
"ย่อมมีได้แม้ในชวนะที่หกที่เจ็ด" คำของพระโคทัตตเถระนั้น ท่าน"
"กล่าวคัดค้านไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า "นั่นเป็นเพียงอัตโนมัติของ
"พระเถระ"" แล้วกล่าว (ต่อไป) ว่า "อันอัปปนา (นั้น) ย่อมมีใน"
ชวนะที่สี่หรือที่ห้าเท่านั้น ชวนะต่อนั้นไปนับได้ว่าตกแล้ว เพราะใกล้
"( จะตก ) ภวังค์ "" ดังนี้ ใคร ๆ ไม่อาจคัดค้านคำในอรรถกถานั้นได้"
เพราะเป็นคำที่ท่านได้วิจารณ์แล้วอย่างนี้จึงกล่าวไว้ แท้จริง จิตย่อม
ไม่อาจเป็นอัปปนา ได้ในชวนะที่หกหรือที่เจ็ดก็ตาม เพราะใกล้ (จะ
ตก ) ภวังค์ เปรียบเหมือนบุรุษวิ่งตรงไปลงเหวชัน แม้ใคร่จะหยุด
ก็ไม่อาจยั้งเท้าหยุดที่ริม ( เหว ) ได้ย่อมจะตกลงไปในเหวจนได้
ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น อัปปนา (นั้น) บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมมีได้
ในชวนะที่สี่หรือที่ห้าเท่านั้น
*
ก็แลอัปปนานั้น เป็นไปในขณะจิตเดียวเท่านั้น จริงอยู่ ชื่อว่า
มหาฎีกาขยายความไว้ว่า
(ก) การที่นัยที่สอบนับอุปจารเป็นที่หนึ่ง ไม่นับบริกรรมนั้น เพราะอธิบายว่า
บริกรรมก็คือบริกรรมในนานาวัชชนะนั่นเอง (หาใช่ในชวนะไม่ ?)
(ข) สำหรับขิปปาภิญญา ชวนะที่สี่เป็นอัปปนา สำหรับทันธาภิญญา ก็ชวนะ
ที่ห้าเป็นอัปปนา