ข้อความต้นฉบับในหน้า
บุคคลรองเอา
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 193
เมื่อจะหลีกละกสิณโทษทั้ง ๔ อย่าพึงถือเอาน้ำที่มีสีเขียว เหลือง แดง
ขาว สีใดสีหนึ่ง ส่วนน้ำ (ฝน) ใด (ตกลงมา) ยังไม่ถึงพื้นดิน
อาในอากาศด้วยผ้าสะอาด หรือน้ำอื่นที่ใสสะอาดอย่างนั้น
ก็ได้ จึงบรรจุน้ำนั้นให้เต็มบาตรหรือกุณฑี ( หม้อน้ำ ) เสมอขอบปาก
แล้ว (นำไป ) ตั้งในที่ว่างที่กำหนด มีประการดังกล่าวแล้ว
นั่งให้สบาย ไม่ต้องพิจารณาสี ( ของน้ำ) ไม่ต้องใส่ใจลักษณะ
( ของมัน) พึงทำให้มันเป็นสิ่งเสมอกันกับที่อาศัย ( ของมัน คือนึกเสียว่า
สีนั้นเป็นอันเดียวกันกับน้ำซึ่งเป็นที่อาศัยของมัน) ตั้งจิตไว้ใน
บัญญัติธรรม ( คือโลกโวหาร )ตามที่เป็นคำใช้กันมาก ภาวนาไปว่า
อาโป อาโป โดยที่เป็นนามเด่นในบรรดานามของน้ำทั้งหลาย เช่น
อมพุ อุทก์ วาริ สลิล เมื่อเธอภาวนาไปอย่างนั้น นิมิตทั้ง ๒ ย่อม
จะเกิดขึ้นตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นโดยลำดับแต่ว่าในอาโปกสิณนี้
อุคคหนิมิตจะปรากฏเหมือนว่ายังไหวอยู่ ถ้าน้ำนั้นเป็นน้ำเจือด้วยฟอง
ด้วยต่อม อุคคหนิมิตก็จะปรากฏเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน ชื่อว่ากสิณ
โทษปรากฏ ส่วนปฏิภาคนิมิตปรากฏเป็นดวงนิ่งแจ๋วเหมือนพัดใบตาล
แก้วที่คนวางไว้ในอากาศ และเหมือนวงแว่นแก้วฉะนั้น พร้อมกับ
ความปรากฏแห่งปฏิภาคนิมิตนั้นแหละพระโยคาวจรนั้น ก็จะบรรลุ
อุปจารฌาน และจตุกฌาน ปัญจกฌาน โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล
อาโปกสิณ จบ
* สุทธวตเถน หมายถึงผ้าไม่มีสี เพราะถ้าเป็นผ้ามีสี สีอาจตกทำให้น้ำกลายเป็นน้ำสีไป
ไม่ใสสะอาด