ข้อความต้นฉบับในหน้า
(
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 228
เสีย นิมิตอันอ่อนนั้นก็จักเสื่อมไป เมื่อเธอคิดว่าจักไปถือเอานิมิตอีก
แม้เป็นผู้ใคร่จะไป ก็ไม่อาจแม้แต่จะเข้าไปสู่ป่าช้าได้ เพราะถูก
อมนุษย์หรือสัตว์ร้ายขวางเสียบ้าง ( หากเข้าป่าช้าได้ ) นิมิตก็กลายไป
เสียบ้าง จริงอยู่ อุทธุมาตกอสุภ คง (สภาพ) อยู่วัน ๑ หรือ ๒ วัน
เท่านั้น ก็ถึงความเป็นอสุภอย่างอื่นมีวินีลกอสุภเป็นต้นไปเสีย ใน
กรรมฐานทั้งหมด ชื่อว่ากรรมฐานที่หาได้ยากเสมอด้วยอุทธุมาตก
อสุภนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น เมื่อนิมิตเสื่อมไปเสียแล้วอย่างนี้
ภิกษุนั้นจึงนั่งในที่พักกลางคืนหรือในที่พักกลางวันก็ตาม แล้ว ( ย้อน )
พิจารณาถึงทางไปทางมา (ตั้งแต่ต้น ) จนถึงที่ๆ ตนนั่งคู้บัลลังก์ (อยู่
เวลานี้ ) อย่างนี้ว่า " เราออกจากวิหารโดยประตูชื่อนี้ เดินไปทางที่
ตรงไปทิศโน้น แล้วถือเอา (เลี้ยว) ซ้ายในที่ชื่อโน้น ถือเอาขวา
ที่โน่น ในที่แห่งอสุภนั้น ก้อนหินอยู่ตรงโน้น หรือจอมปลวก ไม้ต้น
ไม้กอ ไม้เถา อย่างใดอย่างหนึ่ง อยู่ตรงโน้นๆ เรานั้น (เข้า) ไป
โดยทางนั้น จึงได้เห็นอสุภในที่ชื่อโน้น ในที่นั้นเรายืนหันหน้าไปทาง
ทิศโน้น สังเกตจำนิมิตทั้งหลายโดยรอบอย่างนั้นๆ ถือเอาอสุภนิมิต
(เป็นอุคคหนิมิต) ขึ้นได้อย่างนั้น แล้ว (กลับ) ออกจากป่าช้าทางทิศ
โน้น ทำกิจนี้ๆ ตามทางเช่นนั้นๆ พลางมาถึง (ที่อยู่) แล้วนั่งอยู่นี่ "
เมื่อเธอ ( ย้อน ) พิจารณาไปอย่างนี้ นิมิตนั้นจะปรากฏขึ้น คือเข้ามา
ตั้งอยู่ (ในคลอง) ราวกะวางไว้ข้างหน้า (ต่อนั้น) กรรมฐานจะดำเนิน
ไปสู่วิถีด้วยอาการดุจอาการครั้งแรก เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
การพิจารณาทางไปมา มีประโยชน์คือยังกรรมฐาน ( ที่เสื่อม) ให้