การระลึกในอนุสติ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 248
หน้าที่ 248 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับอนุสติที่แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น พุทธานุสติ ที่เน้นที่พระพุทธคุณ ธรรมานุสติ ที่เกี่ยวข้องกับพระธรรม และ สังฆานุสติ ที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ รวมไปถึงการระลึกถึงศีล จาคานุสติ และเทวดา ซึ่งเปิดเผยความสำคัญของการระลึกในทางธรรมและการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อผู้บวช โดยท่านชี้ให้เห็นถึงความสมควรในการระลึกในแต่ละด้าน

หัวข้อประเด็น

-อนุสติ
-พุทธานุสติ
-ธรรมานุสติ
-สังฆานุสติ
-สีลานุสติ
-จาคานุสติ
-เทวตานุสติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ก็แลในอนุสติ ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 246 ฉอนุสสตินิเทศ ๑๐ ที่ท่านจัดไว้ในลำดับแห่งอสุภ สตินั่นเอง ชื่อว่าอนุสติ เพราะเกิดขึ้นบ่อยๆ อนึ่ง สติ ชื่อว่าอนุสติ เหตุเป็น ความระลึกอันนับว่าสมควรแก่กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา เพราะให้เป็น ไปในฐานะอันควรให้เป็นไปเท่านั้น ดังนี้ก็ได้ อนุสติอันปรารภพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น ชื่อพุทธานุสติ คำว่า พุทธานุสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ อนุสติอันปรารภพระธรรมเกิดขึ้น ชื่อธรรมานุสติ คำว่าธรรมา นุสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีพระธรรมคุณมีความเป็นสวากขาตธรรม เป็นต้นเป็นอารมณ์ อนุสติอันปรารภพระสงฆ์เกิดขึ้น ชื่อว่า สังฆานุสติ คำว่า สังฆานุสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีพระสังฆคุณมีความเป็นผู้ปฏิบัติดี เป็นต้นเป็นอารมณ์ อนุสติอันปรารภศีลเกิดขึ้น ชื่อสีลานุสติ คำว่า สีลานุสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีศีลคุณมีความเป็นศีลไม่ขาดเป็นต้นเป็นอารมณ์ อนุสติอันปรารภความสละเกิดขึ้น ชื่อ จาคานุสติ คำว่า จาคา นุสตินั่น เป็นคำเรียกสติอันมีจากคุณมีความเป็นผู้สละปล่อยเลยเป็นต้น เป็นอารมณ์ อนุสติอันปรารภเทวดาเกิดขึ้น ชื่อเทวตานุสติ คำว่า เทวตา * ตามนเห็นได้ว่าท่านไม่ได้แปล อนุสติ ว่า "ความตามระลึก" แต่แปลว่า "ความ ระลึกเนือง ๆ" หรือ "ความระลึกสมควร"
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More