การทำความเข้าใจอสุภกรรมฐาน วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 243
หน้าที่ 243 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงอสุภกรรมฐานที่มีอารมณ์มีกำลังทราม ซึ่งความปฏิกูลในการเจริญภาวนาช่วยให้เกิดปีติโสมนัส ทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถพ้นจากชราและมรณะ โดยมีตัวอย่างเกี่ยวกับผู้ที่ได้เห็นกระดูกและเปรียบเทียบกับการทำงานให้เห็นถึงผลลัพธ์ทางจิตใจอย่างชัดเจน รวมถึงการปรากฏของอสุภในลักษณะต่างๆ โดยมีการยกตัวอย่างจากความเป็นจริงในการปฏิบัติ

หัวข้อประเด็น

-ความเข้าใจในอสุภกรรมฐาน
-การเจริญภาวนาด้วยอสุภ
-ประโยชน์ของอสุภในการพิจารณา
-ตัวอย่างจากพระสาวกและการเห็นอารมณ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 241 ได้ไม่ เพราะอารมณ์มีกำลังทราม เปรียบเหมือนในแม่น้ำที่ น้ำไม่นิ่งมีกระแสเชี่ยว เรือจะหยุดอยู่ได้ก็ด้วยกำลังถือเท่านั้น เว้นถ่อเสีย หาอาจหยุดอยู่ได้ไม่ ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น ในอสุภกรรมฐานนี้จึงมี 4 ( ฌานเพียง ) ปฐมฌานเท่านั้น ฌานนอกนั้นมีทุติยฌานเป็นต้นหามี ไม่ อนึ่ง ในเพราะอารมณ์นั้นแม้ปฏิกูล ปีติโสมนัสก็เกิดขึ้นได้ เพราะพระโยคาวจรเห็นอานิสงส์อย่างนี้ว่า "เราจักพ้นจากชรามรณะได้ ด้วยปฏิปทานี้เป็นแน่แท้" และเพราะละเครื่องร้อนคือนิวรณ์เสียได้ ดุจในเพราะกองคูณ ปีติโสมนัสก็เกิดขึ้นได้แก่คน (รับจ้าง) เทขยะ ผู้เห็นอานิสงส์ว่า " เราจะต้องได้ค่าจ้างแพงเดี๋ยวนี้ละ" และในเพราะ อาเจียนหรือถ่ายออกมา ปีติโสมนัสก็เกิดขึ้นได้แก่คนเป็นโรคผู้มีพยาธิ ทุกข์หนักฉะนั้น (อสุภ ๑๐ มีลักษณะเดียว อนึ่ง อสุภทั้ง ๑๐ อย่างนั้น โดยลักษณะก็มีอันเดียวเท่านั้น แท้ จริง ความเป็นสิ่งปฏิกูล คือไม่สะอาด เหม็นและน่าเกลียดเท่านั้น เป็น ลักษณะของอสุภทั้ง ๑๐ อย่างนั้น อสุภนี้นั้นมิใช่ปรากฏโดยลักษณะนี้ แต่ในสรีระของคนตายอย่างเดียว แต่ย่อมปรากฏได้แม้ในสรีระของ คนเป็น ดังเช่นที่ปรากฏแก่พระมหาติสสเถระผู้อยู่ ณ เจติยบรรพตวิหาร ซึ่งได้เห็นกระดูกฟัน ( ของหญิงผู้หนึ่ง ) และดังเช่นที่ปรากฏแก่สามเณร อุปฐากของพระสังฆรักขิตเถระ ซึ่งได้แลดูพระราชาประทับอยู่บนคอ * มหาฎีกาว่า เพราะความเป็นสิ่งปฏิกูล ไม่สามารถจะผูกจิตให้ดื่มอยู่ได้ จึงเรียกว่าเป็นอารมณ์ที่มีกำลังทราม ต้องอาศัยวิตกเท่านั้นตรึงจิตไว้ จิตจึงจะตั้งอยู่ได้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More