ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 36
(
ภิกษุลัชชีจักรักษา ภิกษุลัชชีจักรักษา ภิกษุลัชชีจักรักษา ดังนี้
ก็ในการให้กรรมฐานนี้ ภิกษุ (ผู้บรรลุมรรคผล ) มีพระ
ขีณาสพ เป็นต้นที่กล่าวมาก่อน (นั้น) ย่อมบอกได้แต่ทางที่ตนได้บรรลุ
มาเท่านั้น แต่ภิกษุพหูสูต เพราะความที่เธอได้เข้าไปหาอาจารย์นั้นๆ
สอบอุคคหะและปริปุจฉา (อรรถกถา) มาอย่างวิเศษแล้ว ( ก่อนจะ
ให้กรรมฐาน เธอ ) จะต้องกำหนดพระสูตร (คือข้อความที่กล่าวไว้ใน
พระสูตร อันสมควรแก่กรรมฐานนั้น ) และเรื่องราวเนื่อง
ด้วยการบำเพ็ญกรรมฐานที่มีมาในพระสูตร แต่ที่นี่บ้าง ที่นั่นบ้าง
( ใน ๕ นิกาย รวบรวมมา ) ประกอบเข้าให้เป็นข้อที่เป็นสัปปายะ
มากน้อย (แก่ผู้เรียน )แล้วแสดง ( กัมมฐานวิธี ) เป็นทางกว้าง
บอกกรรมฐานให้ อุปมาเหมือนช้างใหญ่เดินไปในที่ป่ารก ย่อม
แสดงทางที่มันไปเป็นช่องกว้าง ฉะนั้น
เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร จึงเข้าไปหาท่านผู้ให้กรรมฐาน
ผู้เป็นกัลยาณมิตรอย่างนั้น ทำวัตรปฏิบัติต่อท่านแล้ว ถือเอากรรมฐาน
(ในสำนักของท่านนั้น ) เถิด ก็แล ถ้าพระโยคาวจร ได้ท่านผู้ให้
"กรรมฐานนั้น (อยู่) ในวัดเดียวกัน การได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี
ถ้าไม่ได้ไซร้ ท่านอยู่ที่ใด ก็พึงไปที่นั่น ก็แลเมื่อจะไป ไม่พึงสวม
รองเท้าด้วยทั้งเท้าที่ล้างและทา (น้ำมัน ) แล้ว กั้นร่ม ใช้คนถือ
๑. จากศัพท์ว่า สปปายาสปปาย โยเชตวา บท สปปายาสปปาย นั้น มหาฎีกาท่านแก้
เป็น อุปการานุปการ เป็นอุปการะมากน้อย
๒. อิจฺเจต์ กุสล์ แปลว่า "การได้อย่างนี้ นั่นเป็นกุศล" ตรง ๆ ก็ดูจะได้ความดี
ในภาษาไทยเหมือนกัน