ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 183
ฌานทีเดียวอย่างนี้ว่า" ก็ทุกขินทรีย์อันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไม่เหลือ
ในที่ไหน ? ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกา
จากกามทั้งหลาย
ฯลฯ เข้าถึงฌานที่ ๑ อยู่ ทุกขินทรีย์อันเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไปไม่เหลือ
ในที่นี้ ก็โทมนัสสินทรีย์ ... สุขินทรีย์ ... โสมนัสสินทรีย์อันเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมดับไปไม่เหลือในที่ไหน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เพราะละสุขด้วย ฯลฯ เข้าถึงฌานที่ ๔ อยู่ โสมนัสสินทรีย์อันเกิดขึ้น
แล้วย่อมดับไปไม่เหลือในที่นี้ " ดังนี้เล่า แก้ว่า " เพราะความนิโรธใน
ตัวฌานนั้นๆ เป็นอภิสัยนิโรธ ( ดับสนิทเลย) แท้จริง ความดับแห่ง
องค์เหล่านั้นในตัวฌานมีปฐมฌานเป็นต้น เป็นความดับสนิท หาใช่
ความดับสามัญไม่ ส่วนความดับในอุปจารขณะเป็นความดับสามัญ ไม่เป็น
ความดับสนิท จริงอย่างนั้น ความเกิดขึ้นแห่งทุกขินทรีย์ ซึ่งแม้ดับไป
ในอุปจารแห่งปฐมฌานอันเป็นนานาวัชชนะแล้ว ก็พึงมีได้ เพราะ
สัมผัสมีเหลือบและยุงเป็นต้นบ้าง เพราะความเดือดร้อน ( เมื่อยขบ )
อันเกิดแต่ที่นั่งไม่เรียบบ้าง” แต่ว่าภายในอัปปนาไม่พึงมีเลย อีกนัย
หนึ่งทุกขินทรีย์นั้น แม้ดับไปในอุปจารแล้ว ก็ชื่อว่ายังไม่ดับด้วยดี
เพราะทุกข์นั้นอันปฏิปักขธรรม ( คือ สุข ) ยังมิได้กำจัด ( ให้สิ้น) ไป แต่
ว่าภายในอัปปนา สรรพางค์กาย ( ของพระโยคาวจร เป็นสภาพก้าว
๑. นานาวัชชนะ มหาฎีกาว่า อาวัชชนะอันแตกต่างจากอาวัชชนะทางอัปปนา
หรือว่าเป็นอาวัชชนะอเนก เพราะว่าในทางอัปปนานั้น อุปจารเป็นเอกาวัชชนะ ( มี
อาวัชนนะเดียว ) อุปจารนอกนั้น (คือมิใช่ในทางอัปปนา )เป็นอเนกาวัชชนะ ( มี
อาวัชชนะหลายดวง ) เพราะเป็นไปหลายครั้ง
๒. วิสมาสนุปตาป ในมหาฎีกาเป็น วิสมานุปตาป (ไม่มีอาสน) และแก้ไว้ว่า วิสม
นิ สชฺชาย อุปปนุนกิลมโถ (ความเมื่อยอันเกิดแต่การนั่งผิดท่า)