วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 94
หน้าที่ 94 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการจำแนกรูปแบบนิมิตในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพระมหาฎีกาที่ระบุถึงนิมิตที่เกี่ยวกับดินที่มีที่สุด ทั้งนี้จะต้องมีการระบุขนาดและลักษณะที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดความชัดเจนในจิตใจของผู้ปฏิบัติ โดยเกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมทางจิตใจเช่นการทำฌานหรือการบวชในพระศาสนา เพื่อเข้าถึงนิมิตที่เหมาะสมและสำคัญ.

หัวข้อประเด็น

-นิมิตในพระพุทธศาสนา
-การทำฌาน
-ความสำคัญของการจำแนกรูปแบบนิมิต
-การปฏิบัติในจิตใจ
-ประวัติศาสตร์ภายในพระศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 92 มิได้แต่งขึ้นก็ตาม (แต่ต้อง) เป็นดินมีที่สุด คือมีกำหนด สัณฐานกลม ชักวงรอบได้ มิใช่ ( กว้างใหญ่จน) ไม่มีที่สุด คือ ไม่มีกำหนดสุด สัณฐานไม่กลม ชักวงรอบไปไม่ได้ ขนาดเท่ากะโล่หรือเท่าชามอ่าง เธอทำนิมิตนั้นให้ขึ้นดี” กำหนดจดจำไว้อย่างดี ครั้นเธอทำนิมิตนั้น ให้ขึ้นดี กำหนดจดจำไว้อย่างดีแล้ว จะเป็นผู้เห็นอานิสงส์ มีความ สำคัญ ( ในปฐวีนิมิต ) ว่าเป็นดวงแก้วแล้วตั้งความยำเกรง ( ใน นิมิตนั้นด้วยเห็นเป็นสำคัญไม่ปล่อยให้เสื่อมไปเสีย) รัก ( นิมิตนั้น) อยู่ ผูกจิตไว้มั่นในอารมณ์ (คือนิมิตที่ขึ้นดี) นั้น เธอสงัด จากกามทั้งหลายทีเดียว ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌานอยู่" ดังนี้ พระโยคาวจรผู้ใดเคยบวชในพระศาสนาหรือว่าบวชเป็นฤษี ทำ จตุกฌาน หรือ ปัญจกฌานในปฐวีกสิณ ให้เกิดมาแล้วแม้ในอดีตภพ นิมิตในดินที่มิได้แต่ง ( ดังกล่าว) ในคำอรรถกถาโบราณนั้น คือใน ๑. มหาฎีกาว่า ในคำของพระโบราณาจารย์นี้ท่านประสงค์ว่า สุปปะ กับสราวะนั้น ขนาด เท่ากัน ทั้งสองอย่างนั้นไม่ใหญ่นัก พอเป็นฝาปิดตุ่มได้ (จากปิธานปุปโหนก) อาศัย นัยนี้จึงแปล สุปปะ ว่า กะโล่ แปล สุราวะ ว่า ชามอ่าง เพราะของสองอย่างนี้ขนาดไล่เลี่ยง กันและเคยเห็นคนใช้ของสองอย่างนี้เป็นฝาปิดตุ่มจริง ๆ ด้วย สุปปะ แปลว่ากระดังก็ได้ แต่ต้องเป็นกระด้งขนาดย่อม ซึ่งพอ ๆ กับกะโล่ เพราะถ้าเป็นกระด้งขนาดใหญ่ที่ใช้ฝัดข้าว อาจเหลือตาไป ส่วย สราวะ แปลว่า ขัน ก็ได้ เห็นจะต้องหมายถึงขันโอ หรือขันสาครขนาดกลาง ๆ จะไม่เล็กถึงขันจอก เพราะ มหาฎีกาท่านว่าอาจารย์ลางเหล่ากำหนดขนาด สราวะ ว่า ประมาณ ๑ คืบ 4 นิ้ว ส่วน สุปปะ โตกว่านั้น แถมลางอาจารย์ว่า ทำวงกสิณขนาดเท่าร่มก็ได้ ๒. ติ นิมิตต์ สุคุคหิต กาโรติ มหาฎีกาท่านว่า ลืมตาดูจนถือเอานิมิตในดินนั้นได้แล้ว หลับตานึกดูนิมิตนั้นปรากฏเหมือนในขณะลืมตาดูเมื่อใด เมื่อนั้น ชื่อว่า สุคุคหิต กโรติ ตามอธิบายนี้ ก็คือว่าทำให้เป็นอุคคหนิมิตนั่นเอง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More