วิสุทธิมรรค: ความแตกต่างระหว่างอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 100
หน้าที่ 100 / 324

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงการฝึกจิตผ่านนิมิต โดยเน้นถึงศักยภาพของอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตในการเสริมสร้างสมาธิและการกำจัดนิวรณ์ต่างๆ อธิบายถึงวิธีการใช้รองเท้าและไม้เท้าเพื่อการฝึกที่สะดวก ยกตัวอย่างเพื่อชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างทั้งสองนิมิต เพื่อให้เข้าใจถึงการตั้งมั่นของจิตใจและผลทางจิตวิทยาในการปฏิบัติ.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการฝึกสมาธิ
-การใช้รองเท้าและไม้เท้าในกระบวนการ
-อุคคหนิมิตกับปฏิภาคนิมิต
-กระบวนการทำใจให้สงบ
-การลดนิวรณ์และกิเลสในจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 98 สวมรองเท้าถือไม้เท้า ไปที่ ( ที่วงกสิณตั้งอยู่) นั้น ถือเอานิมิต ( ได้แล้วกลับ ) มานั่งตามสบาย ภาวนา ( สืบไป ) พึงนึกเหนี่ยว ( นิมิต ) แล้วๆ เล่าๆ ทำให้เป็นตักกาหตะ ( นึกมาได้) วิตตกการตะ (นึกมาให้เป็นต่างๆ ได้ ) เมื่อเธอทำอยู่อย่างนั้นนิวรณ์ทั้งหลาย จะราบลง กิเลสทั้งหลายจะระงับลงได้โดยลำดับ จิตจะตั้งมั่นด้วย อุปจารสมาธิ ปฏิภาคนิมิตจะเกิดขึ้น [ความต่างกันแห่งอุคคหนิมิตกับปฏิภาคนิมิต (ต่อไป ) นี้ เป็นความต่างแห่งอุคคหนิมิตที่กล่าวมาก่อน และปฏิภาคนิมิตนี้ ในคำที่กล่าวมานั้น ในอุคคหนิมิต กสิณ โทษยังปรากฏอยู่ (ส่วน) ปฏิภาคนิมิต เป็นราวกะว่าทำลายอุคคหนิมิตออกมาปรากฏเป็นนิมิตที่บริสุทธิ์ดีกว่า อุคคหนิมิตนั้น 1 ๑๐๐ เท่า ๑,๐๐๐ เท่า ดุจแผ่นแว่นที่นำออกจากถุง * ดุจ ๑. & . มหาฎีกาว่า ให้ใช้รองเท้าชั้นเดียว เพื่อไม่ให้มีเสียงเมื่อเดิน ให้ใช้ไม้เท้าด้วยเพื่อ ป้องกันอันตราย (อันตรายอะไรป้องกันด้วยไม้เท้า สุนัขกระมัง ?) ๒. น่าจะเข้าใจว่า ย้ายที่มาแล้ว อุคคหนิมิตอาจเสื่อมไปเสีย จึงกลับไปเพ่งใหม่ จน อุคคหนิมิตเกิดอีกแล้วจึงกลับ เมื่อกลับมาถึงที่ ควรจะได้เข้าที่นั่งเจริญนิมิตต่อไปโดย เร็ว ท่านจึงแนะนำให้สวมรองเท้าเดินไปมา จะได้ไม่ต้องเสียเวลาล้างเท้า ๓. มหาฎีกาท่านอธิบายลึกไป ไม่เข้าใจของท่าน จึงขอคิดเอาใหม่ว่า ตักการตะ นั้น คือ นิมิตที่ติดตาอย่างสนิท หลับตานึกดูเป็นมาทันที ก็หมายถึงอุคคหนิมิตนั่นเอง ส่วน วิตักการตะ วิเศษขึ้นไปอีก คือนึกให้นิมิตแปลกไปจากเดิม เช่นขยายใหญ่ขึ้น หรือย่อให้เล็กลงโดยไม่ผิดส่วนได้ก็คือว่าเกิดปฏิภาคนิมิตนั่นเอง ๔. กสิณโทษ ก็หมายความอย่างที่เคยว่ามาแล้ว คือ รอยอะไรต่างๆ เช่น รอยนิ้ว รอย ฝ่ามือ ๕. เห็นจะหมายความว่า แว่นเขาขัดดีแล้วเก็บไว้ในถุง เมื่อจะใช้ นำออกจากถุงใหม่ๆ ใสสะอาดยิ่งนัก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More