การให้และการแบ่งในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 315
หน้าที่ 315 / 324

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงความสำคัญของการให้และการแบ่งปันในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเอาชนะความตระหนี่ ซึ่งเป็นมลทินที่ขัดขวางความผ่องใสของจิต การที่สัตว์ทั้งหลายถูกมลทินครอบงำนั้น เป็นสาเหตุให้ไม่สามารถให้สิ่งดีๆ แก่ผู้อื่นได้ ในทางกลับกัน การมีจิตที่บริสุทธิ์ และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความเอื้อเฟื้อ สามารถนำไปสู่การพัฒนาทางจิตใจและสังคมได้ โดยการมีมือที่สะอาดและการอาจจะสูญเสียสิ่งใด เรียกว่า การสละปล่อย ถือเป็นความสำคัญในการเข้าถึงธรรมะอย่างแท้จริง และยังเชื่อมโยงกับการมีจิตใจที่ดีและการสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม

หัวข้อประเด็น

-การให้และการแบ่ง
-ความสำคัญของการเอาชนะความตระหนี่
-ผลของมลทินต่อจิตใจ
-การพัฒนาจิตใจผ่านการทำบุญ
-นิสสัยวิหารในพระโสดาบัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การให้และการแบ่ง " ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 313 ในบทเหล่านั้น บทว่า มจฺเฉรมลปริยุฏฺฐิตาย (ถูกมลทินคือ ความตระหนี่กลุ้มรุม ) หมายความว่า ถูกมลทินคือความตระหนี่ ครอบงำ บทว่า ปชาย ( เมื่อประชาชน ) ความว่า สัตว์ทั้งหลาย ท่านเรียก ปชา โดยความที่ได้กำเนิดมา (ตามกรรมของตน) เพราะ ฉะนั้น ในข้อนี้จึงมีเนื้อความ (ดัง) นี้ว่า " เมื่อสัตว์ทั้งห อสัตว์ทั้งหลาย ถูก มลทินคือความตระหนี่ อันมีความทนไม่ไหวซึ่งความที่สมบัติทั้งหลาย ของตน ( มา ) เป็นของสาธารณแก่คนอื่นๆ ไปเป็นลักษณะ เป็น จำพวกธรรมดำอันเป็นเครื่องประทุษร้ายความเป็นประภัสสร (ผ่องใส) แห่งจิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ครอบงำเอาแล้ว " บทว่า วิคตมลมจุเฉเรน ความว่า ชื่อว่า ปราศจากมลทินและ ความตระหนี่ เพราะความที่มลทินอื่นๆ เช่นราคะ โทสะ และความ ตระหนี่ด้วยปราศไปแล้ว คำว่า เจตสา วิหรามิ ความว่า เราเป็น ผู้มีจิตมีประการดังกล่าวแล้วอยู่ ส่วนในพระสูตรตรัสว่า อคาร์ อชุฌาวสามิ ( เรา ... อยู่ครองเรือน ) เพราะเมื่อเจ้ามหานามศากยะ ผู้เป็นพระโสดาบันทูลถามถึงนิสสัยวิหาร ( ธรรมที่พึ่งอาศัยอยู่ของพระ โสดาบัน ) ก็ทรงแสดงไปโดยแนวนิสสัยวิหารด้วยกัน ความในบท อชุฌาวสามิ นั้นว่า อภิภวิตวา วสาม เราอยู่ครอบครอง (เรือน) บทว่า มุตฺตจาโค แปลว่า มีการสละปล่อยเลย บทว่า ปยุตปาณี หมายความว่า มีมือสะอาด มีคำอธิบายว่า มีมืออันล้างไว้ทุกเมื่อ เพื่อจะให้ไทยธรรมด้วยมือตน โดยเคารพ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More