สัปปายะของคนวิตกจริต วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 61
หน้าที่ 61 / 324

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงสัปปายะที่เหมาะสมกับคนวิตกจริต โดยแนะนำว่าเสนาสนะควรเป็นสถานที่สงบและไม่เปิดเผย เช่น ซอกเขาหรือถ้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงความวิตกกังวล เสนาสนะที่มีป่าสมควรจะเป็นที่พักที่ลดการกระตุ้นจากภายนอกและสร้างบรรยากาศที่เหมาะกับการทำสมาธิ ความสำคัญของการเลือกเสนาสนะยังเชื่อมโยงกับกรรมฐานที่เหมาะสมที่ช่วยเสริมสร้างความสงบในจิตใจ ซึ่งผู้ปฏิบัติต้องใช้ความมีสติและวิเคราะห์กรรมฐานเหล่านั้นให้ดีเพื่อให้เหมาะกับจริยาของตน บทความนี้ยังกล่าวถึงอาการที่สำคัญที่ผู้ปฏิบัติต้องพิจารณาก่อนนำกรรมฐานมาใช้เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการฝึกจิต.

หัวข้อประเด็น

-ความวิตกจริต
-สัปปายะ
-เสนาสนะที่เหมาะสม
-กรรมฐาน
-การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 59 (สัปปายะของคนวิตกจริต สำหรับคนวิตกจริต เสนาสนะ ไม่ควรเป็นเสนาสนะที่เปิดเผย หันหน้าสู่ทิศ ซึ่งเป็นที่ๆ สวน วนะ และสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ ตามนิคมและชนบทเป็นลำดับกันไป และภูเขาสีเขียวคราม ย่อม ปรากฏแก่คนผู้นั่งอยู่ (ที่เสนาสนะนั้น ) เพราะเสนาสนะ (เช่น) นั้น ย่อมเป็นปัจจัยแห่งความท่องเที่ยวแห่งวิตกโดยแท้ เพราะเหตุนั้น อัน คนวิตกจริตควรอยู่ในซอกเขาอันลึก ในเสนาสนะที่มีป่าบัง เช่น เงื้อมท้องช้าง และถ้ำพระมหินท์ แม้อารมณ์สำหรับเธอ ก็ไม่ควร เป็นวิบูลกสิณ ( กสิณวงกว้าง ) เพราะกสิณเช่นนั้น เป็นปัจจัยแห่ง ความพล่านด้วยอำนาจแห่งวิตก แต่ควรเป็นปริตกสิณ สัปปายะที่เหลือ ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วสำหรับคนราคจริต นี้แล เป็นสัปปายะของคนวิตกจริต ความที่กล่าวมานี้ เป็นความพิสดารแห่งจริยาอันมาในคำว่า " (กรรมฐาน ) อันอนุกูลแก่จริยาของตน " นั้นโดยกำหนดประเภท เหตุ วิธีบอก และวัตถุที่เป็นสัปปายะ แต่ว่ากรรมฐานอันอนุกูลแก่จริยา ยังมิได้ทำให้แจ้งด้วยอาการ ทั้งปวงก่อน เพราะว่ากรรมฐานนั้นจักมีแจ้งโดยแท้ในความพิสดาร แห่งบทมาติกอันจะกล่าวเป็นลำดับ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบ วินิจฉัยในกรรมฐาน ในคำที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วว่า " ถือเอากรรมฐาน ในกรรมฐาน ๔๐ ข้อใดข้อหนึ่ง " นั้น โดยอาการ ๑0 เหล่านี้ก่อน คือ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More