ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 136
แห่งนกที่ใคร่จะทะยานขึ้นไปในอากาศ และดุจกิริยา โผลงตรงดอกปทุม
แห่งแมลงภู่ที่มีใจผูกพันอยู่ในกลิ่น (ปทุม ) ฉะนั้น (ส่วน) วิจาร
มีความเป็นไปละเมียด ( กว่าวิตก ) เป็นภาวะที่จิตไม่แกว่งนัก ดุจ
การกางปีก (ราร่อน ) ไปแห่งนกที่ขึ้นอยู่ในอากาศแล้ว และดุจการ
บินวน (ดู) อยู่เหนือดอกปทุมแห่งแมลงภู่ที่ลงมาถึงตรงดอกปทุมแล้ว
ฉะนั้น
ส่วนในอรรถกถาแห่งทุกนิบาตกล่าวไว้ว่า " วิตกเป็นไปโดยภาวะ
คือปักจิตลงไปในอารมณ์ ดุจกิริยาที่นกใหญ่ที่ไปในอากาศกวักปีก
ทั้ง ๒ ข้างแล้วราปีกไป” ฉะนั้น วิจารเป็นไปโดยสภาวะตามฟื้น
(อารมณ์ ) ดุจกิริยาที่นกกระดิกปีกรับลม (ร่อน) ไป” ฉะนั้น
คำในอรรถกถาทุกนิบาตนั้นชอบแต่ในความเป็นไปโดยต่อ
เนื่องกัน ด้านความต่างกันแห่งวิตกและวิจารนั้นย่อมปรากฏอยู่แล้ว
ในปฐมฌานและทุติยฌาน
๑.
อีกนัยหนึ่ง วิตกเป็นดังมือที่จับไว้มั่น วิจารเป็นดังมือที่ขัดสี
ปริพฺภมณ์ บินวน มหาฎีกาว่า ที่แมลงภู่ทำเช่นนั้นเพื่อตรวจตราดูมีอันตรายหรือไม่
ก่อนที่จะลงไปเคล้า
๒. แปลตามพยัญชนะว่า ดุจการยังปีกทั้งสองให้รับลมแล้วยังปีกให้นิ่งแล้วแลไปแห่งนก
ใหญ่ที่ไปในอากาศฉะนั้น
๓. แปลตามพยัญชนะว่า ดุจความไปแห่งนกนั้นที่ยังปีกให้กระดิกเพื่อรับลม ฉะนั้น
๔. น่าหมายความว่า ไม่ใช่ว่าวิตกเกิดขึ้นแล้วไปหยุดนิ่งเสีย เหมือนนกกวักปีกแล้วหยุด
กวัก ราปีกไปเฉย ๆ เพราะถ้าวิตกหยุดเสีย จิตก็เข้าไม่ถึงอารมณ์ วิตกกับวิจารถึงแม้
มีลักษณะต่างกัน แต่ควรทำงานต่อเนื่องกัน ทำจิตให้ดำเนินประณีตไปโดยลำดับ ดัง
ปรากฏในปฐมฌานและทุติยฌาน (ปัญจกนัย) คือปฐมฌานมีทั้งวิตกและวิจาร ถึง
ทุติยฌาน วิตกสงบไป วิจารยังทำงานต่อไป