ความหมายของกาลิกะและอกาลิกะในธรรม วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 298
หน้าที่ 298 / 324

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้พูดถึงความแตกต่างระหว่างธรรมกาลิกะและธรรมอกาลิกะ โดยธรรมกาลิกะเป็นกุศลธรรมที่มีผลในโลก แต่ธรรมอกาลิกะนั้นมีผลทันทีและเป็นสภาพบริสุทธิ์ การเปรียบเทียบของธรรมนี้ด้วยทรัพย์สิน เช่น เงินหรือทองที่ไม่ควรเรียกให้คนอื่นมองเห็น จะมองได้ว่าสิ่งที่เป็นธรรมในโลกุตตรนั้นเป็นของมีอยู่และบริสุทธิ์ดังดวงจันทร์ในอากาศที่ปราศจากเมฆ ในที่สุดธรรมที่เป็นประโยชน์และมีค่าเป็นของที่ควรเสนอให้ดูตามธรรมชาติของตน

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของกาลิกะ
-ความหมายของอกาลิกะ
-หลักธรรมในพุทธศาสนา
-ความแตกต่างระหว่างโลกิยะและโลกุตตร
-ธรรมเอหิปัสสิกะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 296 เหตุนั้น ธรรมนั้น จึงชื่อว่า กาลิกะ ถามว่า ธรรมนั้นคืออะไร ตอบว่า 4 ธรรมนั้น คือกุศลธรรมที่เป็นโลกิยะส่วนโลกุตตรธรรมนี้มิใช่กาลิกะ เพราะมีผลต่อเนื่องทันที เหตุนั้นจึงชื่อว่า อกาลิกะ ว่า บทว่า อกาลิโก นี้ ตรัสหมายเอามรรคเท่านั้น [แก้บท เอหิปสฺสิโก] ธรรมชื่อ เอหิปสฺสิกะ เพราะควรซึ่งเอหิปัสสวิธีอันเป็นไปโดย ความว่า " ท่านจงมาดูธรรมนี้ " ดังนี้ ถามว่าก็เพราะเหตุไร ธรรม นั้นจึงควรซึ่งวิธีนั้น ตอบว่า เพราะธรรมนั้นเป็นสภาพมีอยู่ด้วย เพราะ ธรรมนั้นเป็นสภาพบริสุทธิ์ด้วย แท้จริง ใครๆ แม้จะพูด ( ลวง ) ได้ว่า เงินหรือทองก็ตามมีอยู่ในกำมือเปล่า (แต่) ก็ไม่กล้าเรียก (ผู้อื่น ) " จงมาดูเงินหรือทองนี้ซิ " เพราะอะไร เพราะเงินหรือทองนั้น ไม่มีอยู่ และคูถหรือมูตรก็ตามแม้มีอยู่ ใครๆ ก็หาอาจเรียก (ผู้อื่น) ว่า " จงมาดูคูถหรือมูตรนี้ เพื่อ (ให้) ร่าเริงใจซิ " โดยเผยความที่ มันเป็นของน่าฟูใจ ( ให้เขาดู) ได้ไม่ เพราะอะไร เพราะคุณหรือสูตร นั้น เป็นของโสโครก ส่วนโลกุตตรธรรมทั้ง ๕ นี้โดยสภาพ เป็นของ มีอยู่ด้วย เป็นของบริสุทธิ์ดุจดวงจันทร์เพ็ญ ในอากาศอันปราศจาก เมฆ และเปรียบดุจแก้วมณีแท้อันเขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลเหลืองฉะนั้นด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเอหิปัสสิกะ เหตุว่าควรซึ่งเอหิปัสสวิธี เพราะ ความที่เป็นสภาพมีอยู่ และเพราะความเป็นสภาพบริสุทธิ์ด้วย [แก้บท โอปนยิโก] ៩ ธรรมชื่อ โอปนยิกะ เพราะควรนำเข้าไป ก็แลความ (ต่อไป) นี้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More